๒.๒.๔ ความหมายของคำว่าอุเบกขา
คำว่า
อุเบกขา เป็นคำในภาษาบาลี แปลว่า
ความเฉย ความวางตัวเป็นกลาง ความวางเฉยอยู่[1]
แยกศัพท์ได้ดังนี้ อุป +
อิกฺข ธาตุในความหมายว่า ทัสนะ(เห็น
ดู) ลง อ
ปัจจัยๆ ในกิริยากิตก์ในรูปอิตถีลิงค์เป็น อา
(ลบสระหน้า วิการ อิ
เป็น เอ)[2]
สำเร็จรูปเป็น อุเบกขา
มีอรรถวิเคราะห์ตามลำดับดังต่อไปนี้
๑. ยา
อุเปกขา อุเปกฺขนา มชฺฌชฺตตา
จิตฺตสฺส อยํ วุจฺจติ
อุเปกฺขา แปลว่าความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย กิริยาที่วางเฉยยิ่ง ความเป็นกลางๆ
แห่งจิต นี้เรียกว่า อุเบกขา
๒. ปญฺญายิสฺสนฺติ สเกน
กมฺเมนาติ สุขทุกฺเขสุ อชฺฌุเปกฺขนตาอุเปกฺขา แปลว่าความวางเฉย ในสุขและทุกข์
สัตว์ทั้งหลายจักปรากฏ
(มีสุขและทุกข์)
ด้วยการกระทำของเขาเองดังนี้
ชื่อว่าอุเบกขา[3]
๓. อุปปตฺติโต
อิกฺขตีติ อุเปกขา สมํ
ปสฺสติ อปกฺขปติตาว หุตวา
ปสฺสตีติ อตฺโถ ตาย
วิสทาย วิปุลาย ถามคตาย
สมนุนาคตตฺตา ตติยชฺฌาน สมงฺคี
อุเปกฺขโกติ วุจจติ แปลว่าธรรมชาติใด ย่อมเห็นโดยการอุบัติ คือเห็นสม่ำเสมอ อธิบายว่าเห็นโดยไม่ตกเป็นฝักฝ่าย (ราคะและปฏฆะ)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า จึงชื่อว่าอุเบกขา บุคคลที่ได้ตติฌาน ท่านเรียกว่า
อุเบกขกะ
เพราะประกอบด้วยอุเบกขานั้น
อันผ่องใส ไพบูลย์ มีกำลัง
อุเบกขาพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ ๑๐
ประการคือ
๑. ฉฬังคุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันเป็นอาการไม่ละความหมดจดและความปกติ ในอารมณ์
๖
๒. พรหมวิหารุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันเป็นอาการกลางๆ แห่งธรรมทั้งหลาย
๓. โพชฌังคุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันเป็นกลางๆ
แห่งธรรมทั้งหลายที่สหคตกัน
๔. วิริยุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย คือความเพียรไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป
๕. สังขารุเปกขา ได้แก่ความเฉย
อันเป็นกลางๆ
ในการพิจารณาถึงนิวรณ์ธรรมเป็นต้น
แล้วหยุดยั้งอยู่
๖. เวทนุเปกขา
ได้แก่ความวางเฉย
คือความไม่สุขไม่ทุกข์
๗. วิปัสนุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันเป็นกลางๆ
ในการวิจัย
๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันเป็นความนำไปเสมอกันแห่งสหชาตธรรม
๙. ฌานุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันไม่ยังการตกเป็นฝักฝ่ายให้เกิดขึ้น ในธรรมแม้มีความสุขอย่างเลิศ
๑๐. ปารุสุทธุเปกขา ได้แก่ความวางเฉย อันบริสุทธ์จากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งปวง[4]
ดังนั้นจากเนื้อความข้างต้น อุเบกขาอัปปมัญญา คือความวางเฉย
ที่ท่านผู้บำเพ็ญเพียรเจริญให้เกิดขึ้นแล้วแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย โดยอาการที่แปลกไปอัปปมัญญา ๓ ข้างต้น
คือไม่มีความพยายามขวนขวายที่จะให้เขามีความสุข
โดยนัยว่าขอให้สัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์เถิด และไม่มีความพลอยยินดีต่อผู้อื่น โดยนัยว่าสัตว์ทั้งหลายบันเทิงจริงหนอ
แต่เจริญไปโดยนัยที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ที่มีกรรมเป็นของตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข จักพ้นจากความทุกข์ หรือจักเสื่อมจากสมบัติที่ได้แล้ว ก็ด้วยความชอบใจของกรรม ดังนี้
อุเบกขาอัปปมัญญา นี้
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้บำเพ็ญอัปปมัญญา
๓ ข้างต้นจนได้ บรรลุฌานที่
๑ โดยจตุกนัย หรือที่
๔ ในปัญจกนัย เป็นสภาพที่บริสุทธิ์ละเอียด สุขุมลุ่มลึกกว่าอัปปมัญญา ๓
ข้างต้น
และเมื่อสาธุชนนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ เมื่อได้ประสบการณ์ที่ เมื่อเจริญเมตตา กรุณา
หรือมุทิตาไปแล้วเป็นการไม่สมควร
เช่นสถานการณ์ที่ญาติสนิทของตนได้ทำอกุศลกรรม มีการปล้นฆ่าผู้อื่นเป็นต้น ต่อมาถูกตำรวจจับได้แล้วส่งฟ้องศาลๆ พิพากษาให้ประหารชีวิต
ในสถานการณ์เช่นนี้หากเจริญเมตตาปรารถนาให้เขามีความสุข
แต่ในขณะนั้นเขากำลังได้รับความทุกข์คือกำลังจะถูกประหาร เมตตาย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หากเจริญกรุณา
ปรารถนาให้เขาพ้นจากความทุกข์
หรือพยายามให้เขาพ้นจากการถูกประหารชีวิตโดยให้สินบน ก็ย่อมถูกติเตียนว่าช่วยเหลือคนผิดด้วย ประการต่อมาคือมุทิตา ความพลอยยินดี
ยิ่งไม่สามารถเจริญให้เกิดมีได้เลย
ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้สาธุชนควรเจริญอุเบกขา คือความวางเฉย
หรือวางใจเป็นกลาง
ปล่อยดำเนินไปตามกฎหมายอันสมควรแก่การกระทำของเขา
อนึ่งในสถานการณ์ที่ดี
เมื่อคนผู้เป็นที่รักเป็นต้นทำการงานหน้าที่ของคนดี เขามีความสุขความเจริญในการดำเนินชีวิต ไม่มีสิ่งใดต้องเป็นห่วงกังวลใจ ผู้ปฏิบัติก็เจริญอุเบกขานี้ไปได้ ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคแสดงอุปมาว่า “มารดาย่อมไม่แสดงความขวนขวายด้วยเหตุไร ต่อบุตรผู้จัดแจงการงานของตนดี”[5]
และในสุมังคลวิลาสินีในปัญญจสูทนีและในปรมัตถมัญชุสาฎีกา กล่าวว่า
เหมือนดังนายสารถี เมื่อม้าวิ่งถูกทางเรียบสนิทดี ก็นั่งคุมม้าสงบนิ่งคอยดูเฉยอยู่
อุเบกขานี้แบ่งออกเป็น ๒
ประการคือ
๑. อุเบกขาเทียม หรืออุเบกขาที่เจือด้วยอกุศล คืออวิชชา ได้แก่อุเบกขาแบบโง่ๆ เป็นความวางเฉยในสถานการณ์ที่ไม่ควรวางเฉย เช่นเมื่อได้พบเห็นคนทั่วๆ ไปก็มีความวางเฉยไม่สนใจต่อเขาเหล่านั้น ความจริงสถานการณ์เช่นนี้
ควรจะเจริญแผ่เมตตาแผ่ความปรารถนาดีให้ทุกท่านทุกคนที่ตนได้ประสบพนเห็นมีความสุขความเจริญ โดยการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจาเท่าที่ตนจะกระทำได้
เมื่อได้ประสบพบเห็นผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากหรือผู้ที่กำลังเจ็บป่ายกำลังต้องการความช่วยเหลือ ตนเองกลับวางเฉยไม่ช่วยเหลือเลย ความจริงสถานการณ์เช่นนี้
ควรจะเจริญกรุณาและทำการช่วยเหลือเขาทันทีเพื่อให้เขาพ้นจากอันตรายที่เกิดขึ้น หรือเมื่อประสบพบเห็นผู้ที่กลังยินดีอยู่
เหตูเพราะประสลความสำเร็จมีการได้เลื่อนยศตำแหน่งเป็นต้น ตนเองกลับวางเฉยไม่แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของเขา ความจริงสถานการณ์เช่นนี้
ควรจะเจริญมุทิตาแผ่ความพลอยยินดีต่อความสำเร็จของผู้อื่น
อุเบกขาเทียมนี้เป็นความวางเฉยที่มีขอบเขตจำกัด คือหากเป็นคนที่เป็นกลางๆ และคนที่เป็นศัตรู เมื่อเขาทำทุจริตเป็นต้นแล้วได้รับการลงโทษ ตนเองก็วางเฉยได้ แต่หากเป็นผู้ที่เป็นที่รักมีบิดาเป็นต้น ก็ไม่สามารถวางเฉยได้ ดังนั้นอุเบกขาที่เจือด้วยกิเลส เป็นสภาพที่ยังไม่สมบูรณ์
ผู้ปฏิบัติจำต้องพัฒนาให้มีสภาพเป็นอุเบกขาแท้ต่อไป
๒.
อุเบกขาแท้
หรืออุเบกขาที่เป็นกุศล
ได้แก่อุเบกขาที่ประกอบด้วยปัญญาของท่านผู้บำเพ็ญเพียรที่เจริญไปโดยการกระทำไว้ในใจว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ที่มีกรรมเป็นของๆตน เขาทำกรรมอันไดไว้ ดีก็ตาม
ชั่วก็ตาม
เขาจักเป็นผู้รับผลของกรรมอันนั้นขอบเขตจำกัดว่าคนนั้นจะเป็นพ่อแม่พี่น้อง ญาติหรือมิใช่ญาติ คนทั่วๆไป
ตลอดจนคนที่เป็นศัตรูต่อกัน
เจริญอุเบกขาไปโดยอาการสม่ำเสมอกันทั้งนั้น
ท่านผู้เจริญอุเบกขาแท้จะมีแต่สภาพจิตที่เบิกบานประณีต แจ่มใส
และเป็นสุขอย่างละเอียด
สมดังพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
ความจริง อุเบกขานั้น มีสภาพที่เป็นสุขอย่างละเอียด[6]
สรุปความว่าอุเบกขาแท้เท่านั้น เมื่อบุคคลบำเพ็ญแล้ว
ตนเองจึงจะมีความสุขดำรงรักษาความถูกต้องไว้ได้อย่างแท้จริง สมมารถดำรงรักษาความยุติธรรมไว้ได้ ไม่ลำเอียงไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก สมมารถดำรงรักษาความถูกต้อง กกหมาย
กฎระเบียบของสังคมไว้ได้
เป็นหลักธรรมที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองนำไปประพฤติปฏิบัติเพราะเป็นหลักธรรมที่มีสภาพเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ส่วนอุเบกขาเทียมนั้นเกิดขึ้นเพราะกิเลสคือความไม่รู้ เป็นการแสดงอาการเฉยแบบโง่ๆ ซึ่งเป็นการแสดงความวางเฉยในสถานการณ์ที่ไม่ควร
๒.๒.๔.๑ ลักษณะของอุเบกขา
ในคัมภีร์อรรถกถา ได้ให้คำจำกัดความอุเบกขาไว้ว่า มีอันเป็นไปโดยอาการเป็นกลางๆ ในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีอันเห็นภาวะที่สม่ำเสมอกันในสัตว์ทั้งหลายเป็นกิจ มีอันสงบความเสียใจและความดีใจเป็นผลปรากฏ
มีอันพิจารณาเห็นภาวะที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนเป็นบรรทัดฐาน ซึ่งมีอาการเป็นไปอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน จักเสื่อมจากสมบัติที่ตนมีอยู่แล้วก็ดี เพราะความชอบใจของกรรม
มรการสงบแห่งความเสียใจและความดีใจเป็นสมบัติ มีอันเกิดความเพิกเฉย
เพราะความไม่รู้อันอาศัยกามคุณเป็นความวิบัติของอุเบกขานี้
ในสมันตปาสาทิกากล่าวว่า ก็ว่าโดยลักษณะ อุเบกขาที่ประสงค์เอาในที่นี้ มีความเป็นกลางเป็นลักษณะมีการไม่คำนึงเป็นรส มีการไม่ขวนขวายเป็นปัจจุฐาน มีการสำรอกเป็นปีติเป็นปทัฎฐาน
ในวิมุตติมรรค
ได้กล่าวอธิบายโดยตั้งเป็นคำถามและแสดงคำตอบของปัญหาไว้ดังนี้
ถาม อะไรคืออุเบกขา? อะไรเป็นปัจจุฐาน? อะไรเป็นลักษณะรสและปทัฎฐานของอุเบกขา?
ตอบ เปรียบเหมือนมารดาบิดา ทั้งไม่เอาใจใส่เกินไป และไม่ละเลยบุตรของตนเกินไป แต่เอาใจใส่พอประมาณ และคอยดูบุตรเหล่านั้นอยู่ฉันใด โยคีคอยดูสรรพสัตว์โดยอุเบกขาก็ฉันนั้น ความสงบนิ่งในอุเบกขานี้ เรียกว่าปัจจุปัฎฐาน ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้เป็นลักษณะ ความเป็นกลางเป็นรส
การกำจัดความไม่ชอบและความชอบเป็นปทัฎฐานของอุเบกขา
จากข้อความดังกล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า อุเบกขา
หมายถึง “ความวางเฉย โดยการกระทำไว้ในใจว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ที่มีกรรมเป็นของๆตน เขาทำดีย่อมได้ดี” ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ไม่มีความยินดีไม่มีความยินร้าย
ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนที่รักหรือเป็นคนที่เกลียดกันก็ตาม
สามารถจะรักษาสภาพจิตที่เป็นมหากุศลอันประกอบด้วยอุเบกขาไว้ได้ สาธุชนผู้ฉลาดสมมารถที่จะบำเพ็ญข้อนี้ได้
ต้องใช้ปัญญาพิจารณามากและให้ถูกต้องด้วยโยนิโสมนสิการ คุณธรรมข้อนี้เป็นนามธรรม
ไม่มีการแสดงออกทางกายหรือทางวาจามีแต่ภาวะสงบนิ่งโดยมีเพียงการกระทำไว้ในใจอันแยบคาย
แต่สำหรับคนที่ไม่ฉลาด หรือผู้ที่มิได้ศึกษาอุเบกขาให้เข้าใจ
ท่านเหล่านั้นก็มีอุเบกขาคือความวางเฉยเหมือนกัน แต่เป็นความวางเฉยประเภทกระทำไว้ในใจว่าไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่รู้จะปฏิบัติต่อเรื่องนี้อย่างไร จึงนิ่งเฉยอยู่ ซึ่งเป็นเป็นความวางเฉยเพราะไม่รู้ ที่ท่านเรียกว่าอุเบกขาแบบโง่ๆ
๒.๒.๔.๒ ปฏิปักขธรรมของอุเบกขา
คำว่า
ปฏิปักษ์
คือสิ่งที่เป็นศัตรูกัน
สิ่งที่ตรงกันข้าม
หรือสิ่งที่เป็นอันตราย
ต่ออุเบกขา ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย ต่ออุเบกขา
ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องป้องกันมิให้บังเกิดขึ้น อุเบกขาเป็นธรรมฝ่ายกุศล ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับอุเบกขา ก็จะต้องเป็นธรรมฝ่ายกุศล ซึ่งมีอยู่
๒ ประการ โดยจัดเป็นข้าศึกใกล้อย่างหนึ่ง และข้าศึกไกลอย่างหนึ่ง ดังนี้
ก. ข้าศึกใกล้ของอุเบกขา ได้แก่
อัญญาณุเบกขา
แปลว่าความวางเฉยเพราะความไม่รู้
อันอาศัยกามคุณ เป็นความไม่รู้ซึ่งปราศจากความดีใจและเสียใจ เพียงนิ่งเฉยอยู่ ไม่แสดงออกทางกายและทางวาจา
ดังนั้นคนอื่นจึงไม่สมมารถรู้ได้ว่าเขาเสียใจหรือดีใจ หากท่านผู้บำเพ็ญอุเบกขาไม่พิจารณาให้แยบคาย สภาวะแห่งอัญญาณุเบกขาย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายเพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยไม่พิจารณาถึงคุณและโทษเหมือนกัน สมดังที่ท่านพระฏีกาจารย์กล่าวไว้ว่า
อัปปมัญญาอุเบกขา ไม่พิจารณาคุณและโทษ
ด้วยอำนาจการนำประโยชน์เข้าไปในสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น ดุจอัปปมัญญา
๓ ข้างต้น มีเมตตาเป็นต้น
ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจการเพ่งเฉยอย่างเดียวฉันใด อัญญาณุเบกขาก็ฉันนั้น ไม่พิจารณาถึงคุณและโทษ แม้ในตัวสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจการเพ่งเฉยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่ามีส่วนเหมือนกันด้วยอำนาจการพิจารณาถึงคุณและโทษสรุปความแตกต่างระหว่างอุเบกขาและอัญญาณุเบกขาดังนี้ อุเบกขา
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
ท่านผู้บำเพ็ญเพียรกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายดังที่กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข จักพ้นจากความทุกข์หรือจักเสื่อมสมบัติที่ได้แล้ว ก็ด้วยความชอบใจของกรรม ดังนี้
แล้วสงบนิ่งเฉยอยู่ไม่แสดงออกทางกายหรือทางวาจา อนึ่งสภาวะอุเบกขานี้เป็นมหากุศล
เกิดจากปัญญามีการรู้เท่าทันสถานการณ์โดยตลอด และวางใจโดยความถูกต้องแยบคาย ดังนั้นสภาพจิตของผู้ปฏิบัติจึงมีแต่ความสงบนิ่ง อันนับได้ว่าเป็นสุขอย่างละเอียด
ส่วนอัญญานุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นได้เมื่อ คนทั่วๆ ไปหรือท่านผู้บำเพ็ญเพียรนิ่งเฉยอยู่ ไม่แสดงออก
อันเนื่องจากว่าไม่รู้จะทำอย่างงไร
ไม่รู้จะปฏิบัติต่อเหตุการณ์นั้นๆ
อย่างไร อันเนื่องจากวิชา ดังนั้นจึงได้นิ่งเฉย สมดังข้อความที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า อัญญาณุเบกขา
มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
เพราะตาเห็นรูป อุเบกขาความวางเฉยย่อมเกิดแก่ปุถุชน ผู้ยังเขลา
ดังนั้นสภาพจิตของผู้ปฏิบัติจึงมีแต่ความนิ่ง
อันนับได้ว่าเป็นความนิ่งแบบไม่รู้ตามความเป็นจริง อุเบกขาทั้งสองต่างมีลักษณะเหมือนกัน คือนิ่งเฉย
ดังนั้นผู้ปฏิบัติต้องคอยระวังอัญญานุเบกขาให้ดี เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นง่าย
ข. ข้าศึกไกลของอุเบกขา ได้แก่ราคะและปฏิฆะ ซึ่งแปลว่า “ความกำหนัดและความคับแค้น”[7] ราคะปฏิฆะ ซึ่งแปลว่า
ความกำหนัดและความคับแค้น
ราคะปฏิฆะเป็นข้าศึกไกลของอุเบกขา
เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้โดยส่วนของตน
ผู้ปฏิบัติอุเบกขาจึงควรนิ่งเฉย
โดยไม่ต้องกลัวเกรงแต่ราคะและปฏิฆะนั้นเพราะว่าภาวะที่จักเพ่งเฉยด้วย จักกำหนัดหรือขัดเคืองในขณะเดียวกัน ข้อนี้มิใช่ฐานะที่พึงทำได้ สมดังพระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เพราะราคะและปฏิฆะเป็นข้าศึกไกลของอุเบกขาเหตุมีสภาวะของตนแตกต่างกัน
ดังนั้นเมื่อราคะและปฏิฆะก็ถือว่าขาดอุเบกขา
แต่เมื่อเจริญอุเบกขาก็ได้ชื่อว่าเป็นการละราคะและปฏิฆะด้วย สมดังพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะอุเบกขาเป็นเครื่องสลัดราคะ และที่ตรัสแก่พระราหุลว่า ดูกรราหุล
เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนา
เมื่อเธอเจริญอุเบกขาเวทนา
จักละปฏิฆะได้แน่แท้[8]
ตารางที่ ๒.๗ ตารางสรุปลักษณะของอุเบกขาอัปปมัญญา
ลักษณะ
|
มีอาการเป็นไปอย่างกลางๆ ในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ
|
กิจ
|
มีการมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยความเสมอกันเป็นกิจ
|
ประโยชน์
|
มีความสงบจากการความเกลียด
และไม่มีความรักในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอาการที่ปรากฎ
|
เหตุใกล้
|
ปัญญาที่พิจารณาเห็นการกระทำของตนเป็นของตนเองเป็นไปอย่างนี้ว่า
“สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำของตนเป็นของตนเอง สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
จะมีความสุขหรือพ้นจากความทุกข์ หรือจักไม่เสื่อมจาโภคสมบัติของตนที่มีอยู่เหล่านี้
ด้วยความประสงค์ของผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย” เป็นเหตุใกล้
|
การถึงพร้อม
|
ความสงบจากความไม่พอใจในสมบัติของผู้อื่น
เป็นความสมบูรณ์ของมุทิตา
|
ความเสื่อมเสีย
|
ความสุข รื่นเริง โอ้อวด
กำหนัดเกิดขึ้นเป็นความเสื่อมเสียของกรุณา
|
ข้าศึกใกล้
|
ความดีใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์ เป็นข้าศึกใกล้ของเมตตา
|
ข้าศึกไกล
|
ความไม่ยินดี
ม่สบายใจในความเจริญของผู้อื่น เป็นข้าศึกไกลของเมตตา
|
ตารางที่ ๒.๘ ตารางสรุปอุเบกขาอัปปมัญญา อย่างแท้
อย่างเทียม
พรหมวิหาร
|
อย่างแท้
|
อย่างเทียม
|
๔.อุเบกขา
|
องค์ธรรมคือ ตัตตรมัชฌัตตา
มีมัชฌัตตาสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์
มีมัชฌัตตาสัตวบัญญัติ มี ๒ อย่าง
๑.พวกธรรมดา
(มีการวางเฉยเพราะไม่รู้)
๒.พวกที่เป็นไปด้วยอำนาจสมาธิ
(เกิดจากการรู้ใน เมตตา กรุณา มุทิตามาก่อน)
|
องค์ธรรม คือ โมหจิตตุปบาท = อญาณอุเบกขา เฉยเมยในการรับรู้
ไม่ได้วางเฉยที่รู้ในเมตตา กรุณาและมุทิตามาก่อน
|
วิธีเจริญอุเบกขา
การเจริญอุเบกขาอัปมัญญานี้ มีข้อที่แปลกจากอัปปมัญญา ๓ ข้างตน ที่ผู้ปฏิบัติควรทราบ คืออัปปมัญญา ๓
ข้างต้นนั้น บุคคลใดก็ตามเมื่อมีความประสงค์จะเจริญ ภาวนาแล้ว
ก็ลงมือปฏิบัติกันได้ทุกคน และโดยทันทีทีเดียว ส่วนอุเบกขาอัปปมัญญานี้
ผู้ที่จะลงมือปฏิบัติมีขอบเขตจำกัดไว้เป็นธรรมนิยมเฉพาะแก่ผู้ที่เป็นฌานลาภีบุคคลคือผู้ได้ปฏิบัติพรหมวิหาร
๓ เบื้องตนข้อใดข้อหนึ่งจนได้บรรลุถึงขั้นตติยฌาน โดยจตุกกนัย หรือ
จตุตถฌานโดยปัญจกนัยมาแล้วเท่านั้น
จึงจะลงมือเจริญอุเบกขาอัปปมัญญานี้ได้สมดังเนี้อความที่ท่านกล่าวไว้ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า
“ผู้ปฏิบัติที่ปราศจากฌานที่สาม
ในบรรดาอัปปมัญญา ๓ มีเมตตาข้างคน ไม่สามารถบำเพ็ญอัปปมัญญาข้อที่สี่ได้ เพราะ
อุเบกขาเป็นผลสำเร็จมาแต่อัปปมัญญา ๓ ข้างตนโดยเฉพาะ และอุเบกขานี้เข้าประกอบได้
แต่ในจตุตถฌาน โดยจตุกกนัย หรือปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยเท่านั้น หาได้ประกอบใน ฌาน ๓
ข้างต้นไม่ เนื่องจากฌาน ๓ ข้างตนมีสภาพเป็นโสมนัสเวทนา แต่อุเบกขามีสภาพ
เป็นอุเบกขาเวทนา
ในการปฏิบัติอันดับแรก
ผู้ปฏิบัติที่ได้ฌานมีความประสงค์จะเจริญอุเบกขานั้น พึงปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า
ผู้ที่ประสงค์จะเจริญอุเบกขาอัปปมัญญา
ต้องเข้าสู่ตติยฌานที่ตนได้ทำให้ชำนาญคล่องแคล่วมาแล้วด้วยวสี ๕ ในฌานที่ ๓
หรือฌานที่ ๔ แล้วแต่ กรณีที่ได้สำเร็จมาในเมตตา, กรุณา หรือมุทิตา... ครั้นแล้วพึงพิจารณาให้เห็น
อานิสงส์ของอุเบกขาเป็นคนว่า มีสภาพที่ละเอียดสุขุมประณีต[9]
จากข้อความข้างต้น สภาวะแห่งอุเบกขาเป็นสภาพที่ละเอียด
สุขุมลุ่มลึก เบา สบายมีสภาพจิตที่เป็นหนึ่งเดียว (อุเบกขา + เอกัคคดา)
เมื่อผู้ปฏิบัติบำเพ็ญไปจนชำนาญ ย่อมจะเบื่อหน่ายต่อเมตตา กรุณา และมุทิตา
เพราะเหตุยังเกี่ยวข้องกับสัตว์ต่าง ๆอยู่และมีสภาพเป็นโสมนัสสเวทนา
ซึ่งถือว่ายังหยาบเมื่อเปรียบเทียบกับอุเบกขา ซึ่งมีสภาพที่สุชุม ประณีต
เป็นสุขสงบอันละเอียดยิ่ง
ลำดับบุคคลที่ควรเจริญอุเบกขา
เมื่อผู้ปฏิบัติทราบถึงโทษของอัปปมัญญา
ข้างต้นมีเมตตาเป็นต้นและ อานิสงส์ของอุเบกขาแล้ว
ลำดับต่อไปพึงทราบถึงลำดับบุคคลที่ควรเจริญอุเบกขาไป ซึ่งมี ลำดับบุคคลดังต่อไปนี้
ลำดับที่ ๑ การเจริญอุเบกขาไปในตนเอง
ลำดับที่
๒ การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นกลาง ๆ
ลำดับที่ ๓
การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นที่รัก และที่รักยิ่ง
ลำดับที่
๔ การเจริญกรุณาไปในบุคคลผู้เป็นศัตรู[10]
ลำดับที่
๑ การเจริญอุเบกขาไปในตนเอง
ในลำดับบุคคลแห่งการเจริญอุเบกขานี้นั้น ผู้ปฏิบัติพึงเจริญไปในคนเป็นอันดับแรก ก่อน
ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าจนกว่าจิตจะประกอบด้วยอุเบกขา
โดยวิธีที่มองในแง่ที่ตนเองเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนว่า เรามาเกิดในโลกนี้
เราก็มาด้วยอำนาจกรรมที่เราได้ทำเอาไว้เอง
เมื่อเราจะจากโลกนี้ไปนี้นั้นเล่า
เราก็จะต้องไปด้วยอำนาจกรรมที่เราได้ทำไว้แล้วเอง คนอื่นก็ เป็นไปโดยทำนองเดียวกันนี้
การที่เราจะช่วยให้เขามีความสุขใจ
หรือจะช่วยปลดเปลื้อง ความทุกข์ใจออกให้แก่คนผู้ใดผู้หนึ่ง
ด้วยความพยายามของเราเองนั้น มิใช่วิสัยที่จะเป็นไปได้
และการมัววุ่นวายอยู่ในสัตว์ทั้งหลายด้วยการแผ่เมตตาจิตบ้าง กรุณาจิตบ้าง
มุทิตาจิตบ้าง ไปถึงสรรพสัตว์นั้นเป็นสภาวะที่ยังหยาบการวางใจไว้เป็นกลาง
ๆในสัตว์ทั้งปวงนี้ต่างหากเป็นสภาวะที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึก มีใจเป็นหนึ่ง เป็นอาการที่เป็นกลาง ๆ
เป็นหนทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นตนดำเนินไปแล้ว
ในการปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติพึงฝึกทำอุเบกขาจิตนั้นให้ชำนาญ ควรแก่การงาน แต่นั้น
พึงพยายามเจริญอุเบกขาให้เกิดในตนเองต่อไป ด้วยการภาวนาว่า “อหํ กมฺมสฺสโก โหมิ”
เรานี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน ด้วยวิธีที่ภาวนาในใจบ่อย ๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ร้อยครั้ง พันครั้ง
จนกว่าจิตจะประกอบด้วยอุเบกขา คือความเป็นกลาง ๆ ในตนเองจะปรากฏขึ้นใน
จิตอย่างเด่นชัด
ก็การที่จะวางใจเป็นกลางในตนเองเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก สมดังข้อความในหนังสือวิสุทธิมรรความไทยว่า“เพราะความเห็นแก่ตนเป็นภาวะที่มีกำลังมากโดยธรรมนิยมของ
โลกียปถุชน” แต่เมื่อผู้ปฏิบัติพยามปฏิบัติอยู่โดยทำนองนี้ ความวางใจเป็นกลาง ๆ
ในคนเองก็จะเป็นสภาพตั้งอยู่แน่วแน่ ไม่ซ่านออกไปหาอารมณ์อื่น ๆ ภายนอก
ลำดับที่
๒ การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลที่เป็นกลาง ๆ
ผู้ปฏิบัติพึงเจริญไปในบุคคลผู้เป็นกลาง ๆ
ในลำดับต่อจากตนเองโดยนัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไปในคัมภีร์วิภังค์ว่า “ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
ย่อมแผ่อุเบกขา จิตไปทางทิศหนึ่งอยู่นั้นคือทำอย่างไร ย่อมแผ่อุเบกขาจิตไปในสัตว์ทั้งปวงเหมือนอย่าง
ที่ได้เห็นคนอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่ตนไม่รักไม่ชังคนหนึ่ง แล้วพึงเป็นผู้เฉย ๆ
อยู่ฉะนั้น”[11]
ผู้ปฏิบัติพึงเพ่งจิตเป็นกลางไปยังบุคคลผู้เป็นกลาง
ๆ จนกว่าจิตจะประกอบด้วยอุเบกขา
โดยวิธีที่มองในแง่ที่คนทุกคนรวมทั้งตนเองด้วยเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนว่า
คนผู้นี้เมื่อเขาจะมาเกิดในโลกนี้ เขาก็มาด้วยอำนาจกรรมที่เขาได้ทำเอาไว้เอง เมื่อเขาจะจากโลกนี้ไปนั้นเล่า
เขาก็จะต้องไปด้วยอำนาจกรรมที่เขาได้ทำไว้แล้วเองการที่เราจะช่วยให้เขามี ความสุขใจ
หรือจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ใจออกให้แก่คนผู้นี้ ด้วยความพยายามของเราเองนั้น
มิใช่วิสัยที่จะเป็นไปได้ ในทางการปฏิบัติผู้ปฏิบัติพึงส่งจิตไปในบุคคลนั้นด้วยการ
ภาวนาว่า
อยํ มชฺฌตฺตปุคฺโล
กมฺมสฺสโก โหติ
บุคคลผู้เป็นกลาง
ๆ นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของคน
เอเต มชฺฌตฺตปุคฺคลา กมฺมสฺสกา
โหนฺติ
บุคคลผู้เป็นกลาง
ๆ เหล่านี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
สพฺเพ มชฺฌตฺตปุคฺคลา กมฺมสฺสกา
โหนติ
บุคคลผู้เป็นกลาง ๆ ทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
ด้วยวิธีที่ภาวนาในใจบ่อย ๆ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้อยครั้ง พันครั้ง จนกว่าจิตจะ ประกอบด้วยอุเบกขา
คือความเป็นกลางในบุคคลนั้นจะปรากฏขึ้นในจิตอย่างเด่นชัด
เมื่อผู้ปฏิบัติพยายามปฏิบัติอยู่โดยทำนองนี้ ความวางใจเป็นกลาง ๆ
อย่างปกติในบุคคลนี้นั้น ก็จะเป็นสภาพตั้งอยู่อย่างแน่วแน่
ไม่ซ่านออกไปหาอารมณ์ภายนอกอื่น ๆ
ลำดับที่
๓ การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นที่รัก
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญอุเบกขาไปในบุคคลที่เป็นกลาง
ๆซึ่งเป็นบุคคลประเภทที่อุเบกขาสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายแล้วด้วยภาวนาวิธีดังแสดงมา จนสามารถบรรลุอัปปนาสมาธิ
คืออุเบกขาฌานได้ลำดับต่อไปพึงเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นที่รัก
ในการปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติพึงฝึกทำอุเบกขาจิตนั้นให้คล่องแคล่ว ควรแก่การงานด้วยวสี ๕ จนชำนาญแล้ว
แต่นั้นั่นพยายามเจริญอุเบกขาให้เกิด
ในบุคคลผู้เป็นที่รัก
หรือผู้ที่พระอรรถกถาจารย์เรียกว่าสหายใจนักเลงต่อไปด้วยการภาวนาว่า
อยํ
ปิยปคฺคโล กมฺมสฺสโก โหติ
บุคคลผู้เป็นที่รักนี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
เอเต
ปิยปุคฺคลา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุคคลผู้เป็นที่รักเหล่านี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
สพเพ
ปิยปุคฺคลา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุคคลผู้เป็นที่รักทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
ด้วยวิธีที่ภาวนาในใจบ่อย ๆ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า
ร้อยครั้ง พันครั้ง จนกว่าจิตจะประกอบ
ด้วย อุเบกขา คือความเป็นกลาง ๆ ในบุคคลนั้นจะปรากฏขึ้นในจิตอย่างเด่นชัด
เมื่อผู้ปฏิบัติพยายามปฏิบัติอยู่โดยทำนองนี้ ความวางใจเป็นกลาง ๆ
อย่างปกติในบุคคลนั้น ก็จะเป็นสภาพตั้งอยู่อย่างแน่วแน่
ไม่ซ่านออกไปหาอารมณ์ภายนอก
ลำดับที่
๔ การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นศัตรูต่อกัน
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นที่รักเช่นนั้นด้วยภาวนาวิธีดังแสดงมา
จนสามารถบรรลุอัปปนาสมาธิคืออุเบกขาฌานได้
แค่ผู้ปฏิบัติไม่ควรพอใจหยุดอยู่ด้วยเหตุที่ได้บรรลุความสำเร็จเพียงเท่านี้
พึงขวนขวายเพี่อเจริญอุเบกขาไปในบุคคลที่เป็นศัตรูต่อไป
ในการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติพึงฝึกทำอุบกขาจิตนั้นให้อ่อนโยน
ควรแก่การงานด้วยวสี ๕ จนชำนาญแล้ว
แค่นั้นพึงเจริญอุเบกขาให้เกิดในบุคคลผู้เป็นศัตรูต่อไป ด้วยการภาวนาว่า
อยํ เวรีในปคฺคโล กมฺมสฺสโก โหติ
บุคคลผู้เป็นศัตรูนี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
เอเต
เวรีปุคคลา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุคคลผู้เป็นศัตรูเหล่านี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
สพฺเพ
เวรีปุคฺคลา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุคคลผู้เป็นศัตรูทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
ด้วยวิธีที่ภาวนาในใจบ่อย
ๆ ร้อยครั้ง พันครั้ง จนกว่าจิตจะประกอบดัวยอุเบกขา
คือความเป็นกลาง ๆ ในบุคคลนั้นจะปรากฏขึ้นในจิตอย่างเด่นชัด เมื่อผู้ปฏิบัติพยายาม
ปฏิบัติอยู่โดยทำนองนี้ ความวางใจเป็นกลาง ๆ อย่างปกติในบุคคลนั้น
ก็จะเป็นสภาพทั้งอยู่ อย่างแน่วแน่ ไม่ซ่านออกไปหาอารมณ์ภายนอกอื่น ๆ
ขณะนั้นนิวรณ์ ๕ ย่อมถูกข่มให้สงบ ไปด้วยอำนาจหลังแห่งภาวนา
กิเลสทั้งหลายก็สงบลงตามกัน และย่อมบรรลุอัปปนาสมาธิ
การเจริญอุเบกขาไปในบุคคลผู้เป็นศัตรูนั้น
ถ้าความโกรธแค้นพึงเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติโดยทำนองที่แสดงไว้ในเมตตาภาวนานั้น
ผู้ปฏิบัติพึงทำการบรรเทาความโกรธแค้น นั้นให้ระงับลง ด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ
เช่นต้องหวนกลับไปเจริญกรรมฐานในบุคคลจำพวกต้น ๆ เสียใหม่
หรือพิจารณาถึงพระพุทธโอวาทต่าง ๆ ฯลฯ
ส่วนผู้ปฏิบัติที่ไม่มีคนคู่เวร
หรือผู้ไม่มีความผูกเวรกับใคร ๆ ทั้งที่มีคนทำความ เสียหายให้
เนื่องเพราะเป็นชาติเชื้อมหาบุรุษมีอัธยาศัยอันกว้างใหญ่นั้นไม่จำต้องทำความ
ขวนขวายในกรณีที่ว่าจิตของเราอ่อนควรแก่การงานแล้ว บัดนี้
เราจักส่งอุเบกขาจิตไปในคน คู่เวร
เพราะกรณีที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นเฉพาะแต่ผู้ปฏิบัติผู้มีศัตรูเท่านั้น
ในการปฏิบัตินั้น
ผู้ปฏิบัติต้องทำจิตให้อ่อนควรแก่การงานในส่วนแห่งบุคคลแต่ละประเภทนั้น ๆ
คือทำให้ชำนาญด้วยวสีทั้ง ๕ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอุเบกขาไปในบุคคล นั้น
ๆตามลำดับเพื่อทำอุเบกขาให้เป็นสีมสัมเภทต่อไป
วิธีเจริญอุเบกขาโดยสีมสัมเภท
เมื่อผู้ปฏิบัติพยายามเจริญอุเบกขาจิตให้เป็นไปในตนเองได้แล้ว
ด้วยอุบายวิธีต่าง
ๆจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็จะแผ่ไปน้อมไปในตนเองนั้นได้ด้วยวิธีแห่งอุเบกขาภาวนา เช่นเดียวกับในบุคคลผู้เป็นกลาง ๆ
ผู้เป็นที่รัก และผู้เป็นศัตรู ผู้ปฏิบัติพึงเจริญอุเบกขาให้บ่อยยิ่งขึ้น
แล้วทำอุเบกขาให้เป็นสีมสัมเภทกล่าวคือทำให้จิตเสมอกัน ในบุคคลเหล่านี้ คือ
๑. บุคคลผู้เป็นกลาง ๆ ๒.
บุคคลผู้เป็นที่รัก ๓. บุคคลผู้เป็นศัตรู
๔. ตนเอง[12]
การเจริญอุเบกขาตามแนวจตุกกนัยและปัญจกนัย
เมื่อผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติถึงขั้นสีมสัมเภทแล้วพึงภาวนาให้หนักยิ่งขึ้นซึ่งสมถนิมิต
คือสีมสัมเภทนั้น ทำให้เจริญขึ้น ภาวนาให้มากขึ้น ด้วยวิธีดังที่ได้แสดงมาแล้ว
เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้พยายามอย่างมุ่งมั่นด้วยการเสพนิมิตกรรมฐานอยู่อย่างนั้น
ไม่ช้าไม่นาน จตุถฌาน โดยจตุกนัย
หรือปัญจมฌานโดยปัญจกนัยอันมีอุเบกขาพรหมวิหารเป็นนิมิตก็จะสำเร็จบังเกิดขึ้น อุเบกขาฌานและความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาฌานได้
คำว่าอุเบกขาฌาน
หมายถึงฌานที่ปรากฏขึ้นด้วยการเจริญอุเบกขา ผลของฌาน นั้นคือไค้รับความสงบแห่งจิตใจ
เหมือนกับการเจริญกรรมฐานอื่น ๆ
แต่ผลลักษณะพิเศษของอุเบกขาภาวนานี้คือสภาพจิตที่ประกอบด้วยอุเบกขา
ความวางใจเป็นกลาง ๆไม่อยู่ใน ฝ่ายรักและฝ่ายชัง
อันเป็นสภาพจิตบริสุทธิประเสริฐและมีอานุภาพมากกว่าพรหมวิหาร ๓
ที่แผ่ไปยังสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทุกทิศ ทุกสถานที่นี้เรียกว่าอุเบกขาฌานบุคคลผู้ได้อุเบกขาฌานนี้
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก นี้เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เมื่อทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้น
พรหมกายิกา[13]
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล
๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส.
วิธีแผ่อุเบกขาและคำแผ่อุเบกขา
วิธีแผ่อุเบกขามี
๓ วิธีคือ ๑. อโนธิโสผรณา ๒. โอธิโสผรณา ๓. ทิสาผรณา
มีอรรถาธิบายโดยสังเขปดังนี้
๑. อโนธิโสผรณา แผ่ไปโดยไม่เจาะจง คือแผ่ไปในสัตว์ปาณะ ภูติ
บุคคล และผู้มี อัตภาพ
๒. โอธิโสผรณา แผ่ไปโดยเจาะจงคือแผ่ไปในสตรี
บุรุษ พระอริยเจ้า อนริยชน เทวดา มนุษย์ และสัตว์วินิปาติกะ
๓. ทิสาผรณา แผ่ไปในทิศคือแผ่ไปในสัตว์ ปาณะ ภูต
บุคคล ผู้มีอัตภาพ สตรี บุรุษ พระอริยเจ้า อนริยชน เทวดา มนุษย์
และสัตว์วินิปาติกะ ในทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศ ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศดะวันตกเฉียงใต้ ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศเบื้องล่าง และทิศเบื้องบน
วิธีแผ่อุเบกขาทั้ง
๓ อย่างมีสารัตถะสำคัญและรายละเอียดต่าง ๆดังนี้
๑.
อโนธิโสผรณาการแผ่อุเบกขาโดยไม่เจาะจง โดยอาการทั้ง ๕[14]
๑.๑ สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๑.๒
สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
ปาณะทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
๑.๓ สพฺเพ ภูตา กมฺมสฺสกา
โหนฺติ
ภูตทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๑.๔ สพฺเพ ปคฺคลา
กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุคคลทั้งปวง
เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๑.๕ สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา กมฺมสฺสกา
โหนฺติ
ผู้มีอัตตภาพทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.
โอธิโสผรณา การแผ่อุเบกขาโดยเจาะจง
๒.๑ สพฺพา อิตฺถิโย กมฺมสฺสกา
โหนฺติ
สตรีทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๒ สพฺพา
ปุริสา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
บุรุษทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๓
สพฺพา อริยา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
พระอริยะเจ้าทั้งปวง
เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๔ สพฺพา
อนริยา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
ปุถุชนทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๕ สพฺพา
เทวา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
เทวดาทั้งปวง
เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๖ สพฺพา
มนุสฺสา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
มนุษย์ทั้งปวง
เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๒.๗ สพฺพา
วินิปาติกา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
พวกวินิปาติกะทั้งปวงเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๓.
ทิสาผรณา การแผ่อุเบกขาไปในทิศโดยอาการ ๑๐
วิธีการแผ่อุเบกขาไปในทิศนั้น
คือยกเอาอโนธิโสบุคคล ๘ จำพวก โอธิโส บุคคล ๗ จำพวก รวมเป็น ๑๒
จำพวก ไปตั้งไว้ในทิศทั้ง ๑๐ แล้วแผ่อุเบกขาไปในบุคคล ๑๒ จำพวก ที่อยู่ในทิศทั้ง ๑๐ นั้น
จึงเรียกว่าแผ่ไปในทิศโดยอาการแห่งภาวนา ๑๐
อาการ เมื่อว่าโดยบุคคลเป็น ๑๒ วาระ ตัวอย่างดังต่อไปนี้
๓.๑ สพฺเพ ปุรตฺถิมาย ทิสาย สตฺตา
กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
๓.๒
สพฺเพ ปจฺฉิมาย ทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศประจิม เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
๓.๓ สพฺเพ อุตฺตราย ทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
๓.๔ สพฺเพ ทกฺขิณาย อนุทิสายทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ เป็นผู้มีกรรมเป็นของแพ่งตน ๓.๕ สพฺเพ ปุรตฺถิมาย อนุทิสาย
สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ เป็นผู้มีกรรมเป็นของแพ่งตน
๓.๖ สพฺเพ ปจฺฉิมาย อนุทสาย
สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน ๓.๗ สพฺเพ อุตตราย
อนุทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๓.๘ สพฺเพ ทกฺขินาย อนุทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน
๓.๙
สพฺเพ เหฏฺมาย อนุทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา
โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
๓.๑๐ สพฺเพ อุปริมาย อนุทิสาย สตฺตา กมฺมสฺสกา โหนฺติ
สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน เป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งคน
ส่วนคำแผ่อุเบกขาไปในทิศโดยอาการ
๑๐ ในบุคคลอีก ๑๑ จำพวก
คือ ตั้งแต่จำพวกที่ ๒ สพฺเพ ปาณา
จนถึงจำพวกที่ ๑๒ สพฺเพ วินิปาติกานั้น ผู้ปฏิบัติ
จงนำมาประกอบเรื่องโดยทำนองเดียวกับบุคคลที่ ๑ ต่างแต่ต้องยกเอาบุคคลนั้น ๆ
มาประกอบแทนตรงที่ว่า สตฺตา ในคำบาลี
ตรงที่ว่า สัตว์ ในคำภาษาไทยเท่านั้น โดยว่าเรียงลำดับดังต่อไปนี้
๑. สตตา, ๒. ปาณา,
๓. ภูตา, ๔. ปุคุคลา, ๕. อตฺตภาวปริยาปนฺนา, ๖. อิตฺถิโย,
๗. ปุริสา, ๘. อริยา, ๙. อนริยา,
๑๐. เทวา, ๑๑.
มนุสฺสา,
๑๒. วินิปาติกา
ตารางที่ ๓.๑ ตารางสรุป การแผ่อัปปมัญญา อารมณ์สัตวบัญญัติและลำดับบุคคลในการแผ่
อัปปมัญญา
|
อารมณ์
สัตวบัญญัติ
|
ลำดับบุคคลในการแผ่อัปปมัญญา
|
ลำดับที่ ๑
|
ลำดับที่ ๒
|
ลำดับที่ ๓
|
ลำดับที่ ๔
|
ลำดับที่ ๕
|
๑.เมตตา
|
ปิยมนาป.
|
ตนเอง*
|
๑.ปิยบุคคล
|
๒.อติปิยบุค
|
๓.มัชฌัตตบุค
|
๔.เวรีบุคคล*
|
๒.กรุณา
|
ทุกขิต.
|
ตนเอง
|
๓.มัชฌัตตบุค
|
๑.ปิยบุคคล
|
X*
|
๔.เวรีบุคคล
|
๓.มุทิตา
|
สุขิต.
|
ตนเอง
|
๒.อติปิยบุค.
|
๑.ปิยบุคคล
|
๓.มัชฌัตตบุค
|
๔.เวรีบุคคล
|
๔.อุเบกขา
|
มัชฌตตต.
|
ตนเอง
|
๓.มัชฌัตตบุค
|
๑.ปิยบุคคล
|
๒.อติปิยบุค
|
๔.เวรีบุคคล
|
|
|
|
|
|
|
|
X* (ในกรุณา
๒) ไม่แผ่ให้อติยบุคคล
เพราะผู้ที่เรารักมากมทุกข์ ใจเราก็มักจะทุกข์ไปด้วยทำให้แผ่ไม่ขึ้น
* แผ่ให้ตนเอง เพื่อเป็นสักขีพยานว่าเรารักสุขเกลียดทุกข์อย่างไร
บุคคลอื่นก็เช่นเดียวกันดังนั้นใน
การแผ่อัปปมัญญา
จึ้งต้องแผ่ให้ตนเองก่อน
* เวรีบุคคล ต้องแผ่เป็นลำดับสุดท้ายเพราะถ้าแผ่ก่อน
จะเป็นอุปสรรคต้องแต่แรก มีโทสะเกิด
และต้องทำลายขอบเขตให้เสมอกันเพื่อให้เข้าถึงสีมสัมเภท
->
อัปปมัญญา (ฌาน)
มหาโลมหังสบัณฑิต
ในจริยาปิฎก
ได้เล่าเรื่องพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ มีทานบารมีเป็นต้น
มีอุเบกขาบารมีเป็นที่สุด เฉพาะ อุเบกขาบารมีได้มีแสดงใน มหาโลมหังสจริยา เป็นประวัติตรัสเล่าไว้ว่า
“เราสำเร็จการนอนหนุนกระดูกศพในป่าช้าพวกคนจากละแวกบ้านพากันมาแสดงท่าทางต่างๆบางพวกมีใจสลดเลื่อมใส
นำสิ่งของหอม และระเบียบดอกไม้ และโภชนะต่างๆมาให้ เรามีใจเสมอแก่ทุกคน
ทั้งที่ก่อทุกข์ ทั้งที่ให้สุขแก่เราไม่ยินดียินร้าย เราเที่ยงตรงดัง
ตราชั่งในสุขและทุกข์ในยศและมิใช่ยศ เรามีใจเสมอในอารมณ์ทุกอย่าง
นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา” ดังนี้[15]
จากกรณีตัวอย่างบุคคลผู้เจริญพรหมวิหารธรรมในข้อ
อุเบกขาบารมีมหาโลมหังสบัณฑิต แสดงว่า ท่านผู้ได้อุเบกขาแล้วก็มิใช่ว่าจะเฉยเมย
เมื่อถึงคราวจะช่วยทำอะไรก็ช่วยและการช่วยนั้นทำได้ดีมากยิ่งกว่าผู้ไม่มีอุเบกขา
เพราะช่วยโดยปราศจากอคติมุ่งธรรมเป็นที่ตั้งสมดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า “แยกตนออกมาเป็นคนกลางที่เรียกว่ามีอาการมัธยัสถ์เป็นกลางพิจารณาถึงกรรมเป็นหลัก
หมายถึงพิจารณาหาความจริงว่าอะไรผิด อะไรถูก ใครผิดใครถูกอย่างไร” ดังที่เรียกว่าโดยยุติธรรมฉะนั้น
ธรรมคืออุเบกขานี้จึงเป็นธรรมอันสำคัญ
และก็ควรมีเข้าใจว่า
อุเบกขานั้นไม่ใช่หมายความว่า ความวางเฉยไม่ทำอะไร
ดังที่คนโดยมากมักจะมีความเข้าใจกัน แต่หมายความว่ามีความวางเฉยทางใจ
คือวางจากความยึดถือด้วยอำนาจของอคติคือ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะความรัก โทสาคติ
ลำเอียงเพราะความชังโมหาคติ ลำเอียงเพราะความหลง คยาคติ ลำเอียงเพราะความกลัว
แต่มีใจมัธยัสถ์เป็นกลาง
ไม่ถือว่านี่เป็นพวกเรานี่เป็นพวกเขาคือถือเราถือเขาดังนี้
และไม่ได้ถือว่าผู้นี้เป็นญาติของเรา ผู้นี้ไม่ใช่ญาติของเรา ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา
ผู้นี้ไม่เป็นศัตรูของเราแต่คือความถูกต้องอันปราศจากอคติ ดั่งนี้เป็นกลาง
วางก็คือวางอคติ และเฉย ก็คือหมายความว่า
ไม่เข้าไปวุ่นวายในเรื่องที่เป็นไปตามปกติเหล่านี้โดยที่ไม่ไปยึดถือดังกล่าวนั้น
และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วจึงกระทำงานออกไปทางกาย ทางวาจา ทางใจ โดยสุจริตยุติธรรม
ดั่งนี้แหละคือเรียกว่ามีใจเป็นอุเบกขา ไม่ใช่หมายความว่าไม่ทำอะไร
แต่หมายความว่ามีใจที่วางเป็นอุเบกขาได้ อีกประการหนึ่งที่พึงเข้าใจก็คือว่า
ต้องวางลงไปดังนี้ด้วยอำนาจของปัญญา คือด้วยความรู้ได้แก่ความรู้
ถูกต้องตามความเป็นจริง ว่านี่เป็นสิ่งที่ไม่สมควร นี่เป็นสิ่งที่สมควร
ดังนี้จึงปฏิบัติไปได้โดยถูกต้องและก็วางใจได้โดยถูกต้องดั่งนี้
ไม่เข้าไปวุ่นวายให้เสียความเป็นธรรมเสียความยุติธรรม๓
กล่าวได้ว่า
มหาโลมหังสบัณฑิตเป็นผู้บำเพ็ญอุเบกขาบารมีโดยที่เป็นผู้มีใจเสมอกันแก่ทุกคน
ทั้งที่ก่อทุกข์ทั้งที่ให้สุข โดยไม่ยินดียินร้ายและมีใจเสมอในอารมณ์ทุกอย่างนั้น
ด้วยอำนาจของปัญญาและอุเบกขาบารมี ทำให้สังคมดำรงอยู่ด้วยความยุติธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก(เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร), ธรรมภิบาล
พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐบาล, ๒๕๕๒), หน้า ๗๐๙.