ความหมายและลักษณะของเมตตา
๑.
คำแปลและความหมายของคำว่าเมตตา
คำว่า เมตตา
เป็นคำในภาษาบาลี
แปลว่าความรัก แยกศัพท์ได้ดังนี้ “มิทฺ
ธาตุ ในความหมายว่า สิเนห
(ความรัก) ลง ต ปัจจัย ๆในกิริยากิตต์ในรูปอิตถีลิงค์เป็น
อา”รุ วิเคราะห์ที่ ๑ เมชฺชตีติ
เมตฺตา สินิยฺหตีติ อตฺโถ
แปลว่าธรรมชาติใด ย่อมรัก หมายความว่ามีเยื่อใย เหตุนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าเมตตา ธรรมชาติผู้รัก
รุปวิเคราะที่ ๒
มิตฺเต วา ภวา มิตฺตสฺส
วา เอสา ปวตฺตตีติปิ เมตฺตา แปลว่า
ธรรมชาตินั้นมีอยู่ในมิตร หรือว่าย่อมเป็นไปแก่มิตร เหตุนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าเมตฺตา
คำว่า เมตตา
อีกนัยหนึ่งคือความมีไมตรี
ความปรารถนาดี
ความอยากให้ผู้อื่นมีความสุขและประสบแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ซึ่งโดยความหมายได้แก่ ความเป็นมิตรนั้นเอง ชนที่ปรารถนาดีต่อกัน หรือชนที่ปรารถนาให้บุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น
ๆ
มีความสุขและประสบแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ชื่อว่ามิตร สมดังพุทธสุภาษิต มาตา
มิตฺตํ สเก ฆเร แปลว่ามารดาชื่อว่าเป็นมิตรในเรือนของตน อริยมิตฺตกโร
สิยา แปลว่าบุคคลสมควรทำอริยชน (พระอริยเจ้ามีพระโสดาบันเป็นต้น) ไห้เป็นมิตร
สหาโย อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ
สุขา สหายา แปลว่าเมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำความสุขมาให้
เนื่องจากมารดาก็ดี อริยชนก็ดี
สหายก็ดี
ท่านเหล่านี้ต่างปรารถนาให้บุคคลหรือสรรพสัตว์ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับตน มีความสุขเจริญรุ่งเรืองและประสบกับสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นจึงชื่อว่าเป็นมิตร
พระธรรมปิฎกแบ่งเมตตาที่แปลว่าความรักนี้ ออกเป็น
๒ ประการคือ รักเทียมกับรักแท้
๑.
รักเทียม
คือความรักที่เป็นอกุศล เป็นความรักที่เห็นแก่ตัว เช่น
ความรักระหว่างเพศ หมายถึงความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล เป็นความรักที่ต้องการเสพเวทนา อันเกิดจากการสัมผัสกาย หรือในรูป
เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะของคนที่ตนรัก
เป็นความรักของบุถุชนที่อยากเอาบุคคลอื่นมาบำเรอความสุขของตน เป็นความรักที่คับแคบ เป็นความรักที่อิงอาศัยเวทนา หมายความว่าคู่รักจะยังรักกันได้ตราบเท่าที่ทั้งคู่สามารถที่จะตอบสนองเวทนาให้แก่กันและกันได้
แต่เมื่อไม่สามารถตอบสนองให้แก่กันและกันได้แล้ว ความรักชนิดนี้ก็จะเสื่อมหายไป และจะเกิดผลเสียหานตามมา
จะเห็นได้ว่า ความรักเทียมมีลักษณะคับแคบจำเพาะเจาะจง โดยปรารภบุคคลที่รักชอบใจถูกใจเป็นใหญ่ เป็นความยึดติดผูกพันเฉพาะตัว
เป็นความรักที่เกิดจากตัณหาคือเป็นความรักที่ต้องการเอาคนอื่นมาทำให้เรามีความสุข เป็นความรักที่ต้องการคอบครองเป็นเจ้าของ เป็นความรักที่ตื่นเต้นเร่าร้อน เป็นสาเหตุให้เกิดความหึงหวง ความรักประเภทนี้เป็นความรักที่เจือด้วยราคะ จัดเป็นความรักเทียม เป้นความรักที่ยังไม่สมบูรณ์ มีจุดบกพร่อง
ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาไปสู่ความรักประเภทที่ ๒ คือความรักแท้ที่เป็นเมตตา
๒.
ความรักแท้
หมายถึงความปรารถนาดี
ความอยากให้คนที่รักมีความสุข
และประสบแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์นั้นเอง
เป็นความรักที่บริสุทธิ์
รักโดยอาการเผื่อแผ่เป็นความปรารถนาดี
ทำให้ใจเปิดกว้างออกไปและผ่องใสเบิกบาน
ต้องการให้คนที่เรารักมีความสุข
และอยากทำทุกอย่างให้เขามีความสุข
การที่จะทำให้บุคคลอื่นมีความสุขนั้น
คือการเสียสละ
สละความสุขส่วนตัวเพื่อความสุขของคนที่เรารัก หรือเพื่อความสุขของทั้งคู่
ซึ่งถือว่าอาการปฏิบัติที่ชัดเจนในอันที่จะทำให้ตนเองและคนอื่นมีความสุข พระธรรมปิฎกกล่าวถึงความรักแท้ว่า ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
เป็นความหมายที่สำคัญของคำว่าความรักและความรักแท้นี้ มีชื่อพิเศษเรียกว่า เมตตา หรือความรักที่ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข
ผู้ที่มีความรักแท้ จึงเป็นผู้มีความสุขอย่างแท้จริง
ทั้งสามารถยังบุคคลอื่นให้มีความสุขอีกด้วย พระธรรมปิฎกกล่าวว่า ความรักแท้ที่ต้องการให้คนอื่นเป็นสุข จะเห็นได้ง่ายๆ เหมือนความรักของพ่อแม่ พ่อแม่รักลูก
คืออยากให้ลูกเป็นสุข
ถ้าเราอยากให้ลูกเป็นสุข
เราก็ต้องพยายามทำทุกอย่าง
เพื่อให้ลูกเป็นสุข เพื่อจะได้เห็นลูกมีความสุข เราก็ต้องพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้ลูกเป็นสุข เพื่อจะได้เห็นลูกมีความสุข พอเห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขด้วย
จากข้อความข้างต้นนี้ ความรักความปรารถนาดีของพ่อแม่ ที่จะเป้นความรักอันเป็นเมตตาได้
ก็ต่อเมื่อความรักและความปรารถนาดีนั้นไม้มีเงื่อนไข โดยไม่ใช้ชีวิตร่างกายของลูกเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม พระธรรมปิฎกกล่าวว่า ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเมตตา พ่อแม่รักลูก
หวังดีต่อลูกยินดีในความดำรงอยู่ด้วยดีของลูก อยากให้ชีวิตของลูกเจริญงอกงาม ข้อนี้นับว่าเป็นคุณธรรมคือ เมตตา
ของพ่อแม่
ในหนังสือวิทยาแห่งความรัก ไชย
ณ พล ได้แบ่งความรักออกเป็น ๓
ประการคือ
๑.
ความรักที่ปรารถนาจะได้อย่างเดียว
เป็นความรักที่อยู่บนพื้นฐานของจิตที่ยังขาดบกพร่อง ไม่สมบูรณ์
การรักผู้อื่นเป็นเป็นเพียงภาษาของการเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ของตนเท่านั้น
๒.
ความรักที่ปรารถนาจะให้และต้องการได้
เป็นความรักที่อยู่บนพื้นฐานของจิตใจระดับกลางทั่ว ๆไป ซึ่งจะยินดีในการสละให้ ช่วยเหลือเกื้อกูล แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการการตอบแทนด้วย
๓.
ความรักที่ปรารถนาจะให้อย่างเดียว
โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
เป็นความรักที่อยู่บนพื้นฐานของจิตใจที่สมบูรณ์
ดวงใจเช่นนี้พร้อมที่จะให้ความรักแก่สิ่งทั้งปวง ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
สรุปความว่า เมตตา
คือความรัก
ความปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก
อยากให้เขาเหล่านั้นประสบแต่ความสุขความเจริญ ความเป็นมิตรต่อกัน ความเป็นผู้รักใคร่สนิทสนมกัน การช่วยเหลือกัน ซึงเป็นคุณธรรมความดีภายในจิตใจ แล้วแสดงผลออกมาทางการกระทำหรือคำพูด เช่น
การทำดี พูดดีต่อกันและกัน เมตตาคือความรัก ประเภทนี้แบ่งออกได้ ๒
ลักษณะ
คือความรักที่เป็นอกุศลและความรักที่เป็นเมตตา
๑. ความรักที่เป็นอกุศล เป็นความรักที่เกิดจากอกุศลคือตัณหาหรือราคะนั้นเองเป็นความรักที่ต้องการความเป็นอยู่ดีแห่งชีวิตของผู้อื่น
เพียงเพื่อเป็นเงื่อนไขสำหรับตนจะได้ใช้ประโยชน์หรือเสพสุข และต้องการการตอบสนอง
หากคู่รักนั้นไม่สามารถตอบสนองได้ความรักชนิดนี้ก็จะคลายและหายไปในที่สุด
เพราะเป็นความรักที่แปรผันไปตามสถานการณ์ยังเป็นความรักที่ไม่สมบูรณ์จำเป็นต้องพัฒนาให้กลายเป็นความรักที่สมบูรณ์ต่อไป
๒.
ความรักที่เป็นเมตตา
คือความรักที่บริสุทธิ์
เป้นความรักที่เกิดจากปัญญาอันสุขุมลุ่มลึก เป้นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขไม่ผลตอบแทน
พร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่เพื่อนร่วมโลก ดีใจ
เบิกบานใจที่ได้แผ่ความรัก
ความหวังดี ความปรารถนาดีไปให้แก่เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์
เป็นความรักที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ลำบากทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ
เพราะเป็นความรักที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ลำบากทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ เพราะเป็นความรักที่ไม่เจือด้วยอกุศล แต่ตรงกันข้ามความรักชนิดนี้มีบ่อเกิดมาจากปัญญา
ผู้คนในโลกควรจะพัฒนาคนให้มีความรักประเภทนี้ให้มาก ๆ
เพื่อความสุขของตนเองและเพื่อนร่วมโลก
๑.๑ ลักษณะของเมตตา
ในคัมภีร์อรรถกถา ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับลักษณะของเมตตาว่า
เมตตา มีความเป็นไปโดยอาการเกื้อกูลเป็นลักษณะ มีอันนำเอาประโยชน์เกื้อกูลเข้าไปเป็นรส มีอันนำความอาฆาตออกไปเสียได้เป็นเครื่องปรากฏ
มีอันมองเห็นความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นที่น่าเจริญใจเป็นเหตุใกล้ มีความระงับแห่งพยาบาท เป็นสมบัติแห่งเมตตานั้น มีความเกิดขึ้นแห่งสิเน่หาเป็นวิบัติแห่งเมตตา
ในคัมภีร์วิสุทธิ์มรรค
ได้อธิบายเมตตาโดยตั้งเป็นคำถามและคำตอบของปัญหาไว้ดังนี้
ถาม อะไรคือเมตตา
อะไรเป็นปัจจุปัฎฐาน
อะไรเป็นลักษณะรสและปทัฎฐานของเมตตา
ตอบ เหมือนมารดาบิดา เมื่อมองดูบุตรน้อยคนเดียวของตน ทำจิตประกอบด้วยเมตตาและปราถนาดีให้เกิดขึ้นแก่บุตรนี้ฉันใด พระโยคีก็ฉันนั้น
ทำจิตประกอบด้วยเมตตาและปรารถนาดีให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ เมตตาบัณฑิตพึงรู้อย่างนี้ ความสงบนิ่งแห่งจิตใจในการบำเพ็ญ นี้เรียกว่าปัจจุปัฎฐานของเมตตา การทำความปรารถนาดีให้เกิดขึ้น เป็นรสของเมตตา อโทสะ
เป็นปทัฎฐานของเมตตา
จากข้อความที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า เมตตา
คือความปรารถนาดี ความมีไมตรี ความมีเยื่อใย
ความเป็นผู้ที่มีความรัก
ปรารถนาให้ผู้อื่นตลอดถึงสรรพสัตว์ประสบสุข ความแสวงหาการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ความอนุเคราะห์ ปราศจากเวรภัย
ความไม่พยาบาท ไม่ทำลายล้าง ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน มุ่งความสุขความเจริญแก่สรรพสัตว์ในโลกเสมอเหมือนกันหมด
เมตตาเป็นกุศลมูลซึ่งมีลักษณะที่เป็นนามธรรม
และบุคคลสามารถกระทำให้ปรากฏผลเป็นรูปธรธรรมได้ด้วยพฤติกรรมทางกาย ซึ่งเรียกว่ากายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และวาจาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ซึ่งเรียกว่าวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และเป็นความปรารถนาดีโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
๑.๒ ปฏิปักขธรรมของเมตตา
คำว่า ปฏิปักษ์
คือสิ่งที่เป็นศัตรูกัน
สิ่งที่ตรงกันข้าม
หรือสิ่งที่อันตราย ต่อเมตตา ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องป้องกันมิให้บังเกิดขึ้น เมตตาเป็นธรรมฝ่ายกุศล ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับเมตตา ก็ต้องเป็นธรรมฝ่ายอกุศล มีอยู่
๒ ประการ
โดยจัดเป็นข้าศึกใกล้อย่างหนึ่งและข้าศึกไกลอย่างหนึ่ง ดังนี้
ก.
ข้าศึกของเมตตา ได้แก่ ราคะ
คือความกำหนัด หรือความยินดีในกามเพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยมองในแง่ที่เป็นคุณด้วยกัน
เหมือนศรุตรูของบุรุษที่อยู่ใกล้ชิดกันย่อมได้โอกาสทำร้ายได้เร็วกว่าศัตรูที่อยู่ไกล ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
ราคะกับเมตตาในที่นี้ต่างก็มองคนอื่นในแง่ที่เหมือนกัน ราคะนับว่าใกล้กับเมตตามาก ถ้าผู้ปฏิบัติเผลอนิดเดียว ราคะก็เกิดแทนเมตตาทันที ราคะนั้นย่อมได้ช่องโอกาสขึ้นเร็วมาก ถ้าผู้ปฏิบัติเผลอนิดเดียว ราคะก็เกิดแทนเมตตาทันที ราคะนั้นย่อมได้ช่องโอกาสขึ้นเร็วมาก ดังนี้
ผู้ปฏิบัติต้องคอยระวังจิต
เมตตาทำให้มิเกิดราคะ
ราคะนี้ เป็นกิเลสประการหนึ่งในบรรดาอนุสัยกิเลส ๗
ประการ
ซึ่งเป็นกิเลสที่ละเอียดมาก
นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เป็นความรู้สึกที่กำหนัดยินดีพอใจในวัตถุกาม คือสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ มีอยู่ ๕
อย่างคือ
๑.
รูป ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดซึ่งเห็นได้ด้วยจักขุ
๒.
เสียง ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดซึ่งฟังได้ด้วยโสตะ
๓.
กลิ่น ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดซึ่งรู้ได้ด้วยจมูก
๔.
รส ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ซึ่งรู้ได้ด้วยกาย
๕.
โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ตั้งความกำหนัด ซึ่งรู้ได้ด้วย
กิเลสคือราคะ หรือที่เรียกกันว่าราคานุสัยนี้ เป็นกิเลสที่มีอยู่ประจำ ซึ่งนอนเนื่องฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของโลกีย์สัตว์ทุกจำพวก เว้นพระอรหันต์เท่านั้น ดังนั้นกิเลสนี้มีอยู่แก่ทุกคน
ถึงกระนั้นก็มิได้ก่อให้เกิดการกระทำความชั่วร้าย สำหรับบุคคลผู้ดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบของศีลธรรมและกฎหมายอันดีงามแล้ว ปล่อยใจให้ถูกราคะครอบงำ ราคะที่กำเริบขึ้น เมื่อพอกพูนขึ้นในจิตใจมาก
ๆก็จะมีกำลังมากขึ้นตามลำดับ
ในที่สุดจะแสดงออกมาโดยการทำความชั่วทางกาย หรือทางวาจาคำพูด อันเป็นมูลเหตุแห่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น
เพราะเหตุแห่งความกำหนัดยินดีในกามคุณอารมณ์ ซึ่งปล่อยให้เกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุม กามคุณอารมณ์
คืออารมณ์ที่น่าใคร่
น่าปรารถนา น่าพอใจ ยังไม่ถือว่าเป็นความชั่วหรือความดี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้
อนึ่ง กาม
คือความใคร่
ความกำหนัดยินดีนี้
ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.
วัตถุกาม ในกามสูตรว่า วัตถุกามเป็นไฉน รูป
เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ เครื่องลาดเครื่องนุ่งห่ม
และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วัตถุกาม
อธิบายว่าวัตถุกาม คือวัตถุอันเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ได้แก่รูป เสียง
มิได้หมายเอาเฉพาะรูป เสียง ฯลฯ ที่เป็นของมนุษย์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
แต่ความเป็นจริงยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงสัตว์และสิ่งของอื่นๆ อีกด้วย
๒.
กิเลสกาม ในกามสูตรว่า กิเลสกามเป็นไฉน ความพอใจ
สมจริงดังพุทธพจน์ว่า
ดูก่อนกาม
เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้วว่า
เจ้าย่อมเกิดเพราะการดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจักไม่มีอย่างนี้ กามเหล่านี้
เรียกว่า กิเลสกาม
กิเลสกามนี้ได้แก่กิเลสจำพวกกำหนัดยินดี ใคร่พอใจในอารมณ์ต่างๆ นั้นเอง
ราคะ ความกำหนัดยินดี ใคร่พอใจในอารมณ์ต่างๆ นั้นเอง
ราคะความกำหนัดยินดี โลภะ ความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด และอสันตุฎฐี
ความไม่สันโดษกิเลสเหล่านี้นอนสงบนิ่งอยู่ภายในจิตใจของโลกีย์สัตว์ทั้งหมด เป็นความคิดอยู่ภายในจิตใจที่เกี่ยวกับกาม เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็จะแสดงตนออกมา หากไม่มีอะไรมากระทบก็จะนอนแน่นิ่งอยู่ อุปมาเหมือนตะกอนที่นอนแน่นิ่งอยู่ที่ก้นแก้วฉะนั้น
วศิน อินทสระ
ได้สรุปความไว้ในหนังสือพุทธปรัชญาเถรวาทว่า
วัตถุกาม คือสิ่งยั่วยวนภายนอก ส่วนกิเลสกาม
คือกิเลสประเภทความใครอันแอบแฝงอยู่ภายในใจ เมื่อประสบกับวัตถุกามภายนอก กิเลสภายในออกมารับก็เกิดเป้นราคะขึ้นมาเผาใจให้เร่าร้อน
สรุปว่าเมตตานี้เป็นเรื่องราวของความปรารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นประสบแต่ความสุข ความเจริญ
ความมีน้ำใจเกื้อกูลกัน ดังนั้นลักษณะของเมตตาเป็นสภาวะของอกุศลในทางปรมัตถะธรรมถือว่า จิตทั้งสองดวงนี้เป็นจิตคนละประเภท ความรักที่เจือด้วยราคะเป้นอกุศลจิต ส่วนความรักที่เจือด้วยเมตตานั้นเป็นเรื่องของกุศลจิต
ฉะนั้น
ความรักที่เจือด้วยราคะกับเมตตานั้นมีลักษณะแตกต่างกัน และถือว่าเป็นข้าศึกที่ใกล้กัน คือสามารถได้ช่องโอกาสเกิดขึ้นได้เร็วกว่า
เหมือนศัตรูของคนที่อยู่ใกล้ย่อมมีโอกาสทำร้ายได้เร็วกว่าที่อยู่ไกล ถ้าหากไม่พิจารณาให้ดีราคะก็จะแทรกเข้ามา
เช่นถ้าผู้ใดผู้หนึ่งทำความดีแก่บุคคลอื่นแล้ว
หวังได้รับการตอบแทนโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิหวังให้เขารัก สรรเสริญ
หรือหวังสิ่งตอบแทน
สิ่งที่เขาทำลงไปนั้น คนเป็นอันมากคิดว่าเป็นเมตตา แต่ที่จริงแล้ว มิใช่เมตตาโดยแท้จริง การกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโลภะ คือราคะที่แฝงมาในรูปแบบของเมตตา ฉะนั้น ราคะท่านจึงกล่าวว่าเป็นข้าศึกใกล้
เพราะได้ช่องโอกาสเกิดขึ้นเร็วดังกล่าวแล้ว กิเลสคือราคะนี้ ซึ่งเข้ามาแอบแฝงอยู่ในรูปแบบของเมตตา จนกระทั่งแยกกันแทบไม่ออก ทำให้ผู้คนมองไม่ค่อยเห็น
ด้วยเหตุนี้เองบุคคลบางคนจึงมักจะกล่าวว่าเราหวังดี ปรารถนาดี
ทำไมเขาไม่มีน้ำใจกับเรา และไม่ตอบแทนเราเป็นต้น
คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดของบุคคลผู้ที่กระทำดีแล้วมีเงื่อนไขมุ่งหวังผลตอบแทน ซึ่งเป็นข้าศึกใกล้ของเมตตา
ข.
ข้าศึกใกล้ของเมตตา ได้แก่ พยาบาท
ซึ่งหมายถึง
ความขัดเคืองแค้นใจคิดร้าย
พยาบาทความรู้สึกปองร้าย
ต้องการให้ผู้อื่นประสบความพินาศย่อยยับไป
อันเนื่องมาจากการที่ตนแค้นเคืองเขา
แล้วไม่สามารถโต้ตอบได้ทันที่
อาจมาจากที่ตนเองยังไม่พร้อมที่จะตอบโต้
หรือยังไม่มีโอกาส
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาความพยายามก็บีบคั้นอยู่ภายในจิตใจของเขา ต่อเมื่อเวลาใดตนได้โอกาสที่เหมาะสม
ความพยายามกระตุ้นเตือนให้ผู้นั้นแสดงการโต้ตอบมาทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง
ประเด็นนี้พึงทราบความแตกต่างกัน
ระหว่าง โทสะและพยาบาทดังนี้ โทสะเป้นความรู้สึกโกรธเคืองซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
แล้วแสดงออกโดยการโต้ตอบออกมาทางกายหรือทางวาจาทันที สำหรับความพยายามก็คือโทสะนั้นเอง แต่เป็นโทสะที่ไม่สามารถโต้ตอบได้ในทันที่ จึงเดือดพล่านอยู่ในใจโดยอาการ คิดร้าย
คิดแก้แค้น
เมื่อมีโอกาสโต้ตอบจึงแสดงออกในภายหลัง
ความพยายามนี้ เป็นข้าศึกของเมตตา เพราะมีลักษณะแตกต่างกันกับเมตตา เหมือนคนที่เป็นศัตรูกันและอยู่ไกลกัน ดังนั้นจึงรู้ได้ง่ายเมื่อเกิดขึ้น สมดังเนื้อความในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้
เหมือนศัตรูของบุรุษซึ่งอยู่ในที่ป่าทึบแห่งภูเขา
ผู้ปฏิบัติที่มีจิตที่เต็มไปด้วยความพยาบาท ควรเจริญเมตตาภาวนา โดยไม่เกรงกลัวต่อพยาบาท
การเจริญกรรมฐานและทำความพยาบาทโกรธเคืองไปด้วยในขณะเดียวกัน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพื่อให้ทราบถึงความหมายของความพยาบาทโดยชัดเจน
จะขอยกเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระอภิธรรมมัตถสังคหะประมวลโดยย่อดังต่อไปนี้
พยาบาท คืออาการที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น ดังมีอรรถวิเคราะห์แสดงว่า พยาปิชฺชติ
หิตสุขํ เอเตนาติ พยาปาโท
แปลว่าประโยชน์และความสุข
ย่อมเสียหายไปด้วยโทสะอันใด
ฉะนั้น โทสะอันนั้นชื่อว่า พยาบาท
ในสุมังคลวิลาสินี ได้อธิบายถึงเหตุเกิด เหตุละและธรรมสำหรับละพยาบาทไว้ดังนี้
๑.
เหตุเกิดพยาบาท ก็พยาบาทนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเพราะโยนิโสมนสิการในปฏิฆะนิมิต
๒.
เหตุละพยาบาท ก็พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจอย่างแยบคาย ในเมตตาเจโตวิมุตติ
๓.
ธรรมสำหรับละพยาบาท อีกอย่างหนึ่ง ธรรม
๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ
(๑) การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์
(๒) การประกอบเนืองๆ ด้วยเมตตาภาวนา
(๓) การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน
(๔) การทำให้มากซึ่งการพิจารณา
(๕) ความมีกัลยาณนิมิต
(๖) การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
ก็พยายามที่จะละได้แล้วด้วยธรรม ๖
ประการนี้
ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค
จากข้อความข้างต้นนี้ สรุปว่าพยาบาทคือความคิดปองร้าย มุ่งร้าย
ต้องการให้ผู้อื่นพินาศ
ผู้บำเพ็ญเพียรจะละได้ก็ด้วยเมตตา
โดยการแผ่ความเมตตา
ความปรารถนาดีไปให้แก่เขา
แสดงความหวังดีแก่เขา
โดยการพูดการกระทำ แต่การจะทำดีต่อบุคคลที่ทำให้ตนเองโกรธและพยาบาทนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ดังนั้นผู้ปฏิบัติจำต้องพิจารณาให้แยบคายถึงความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตนว่า เขาทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตนเองก็จะเป็นไปนัยเดียวกัน
การที่ตนเองปรารถนาถึงบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งแล้วทำกรรมชั่ว ไม่สมควรโดยประการทั้งปวง แต่ในทางตรงกันข้ามไม่ว่าจะปรารถนาเหตุดีหรือไม่ดีก็ตาม ควรทำกรรมดีแต่โดยส่วนเดียว เพราะทราบแน่ชัดว่าทำดีต้องได้ดีแน่ และควรคบแต่เพื่อนที่ดี เพราะเพื่อนที่ดีย่อมบอกกล่าวด้วยความหวังดี
เพื่อให้เห็นโทษของกรรมชั่วและได้เห็นอานิสงค์ของกรรมดี เมื่อได้เหตุปัจจัยดีทั้งภายใน (จิตมีเมตตา)
เหตุปัจจัยทั้งภายนอก
(มิตรดี) ย่อมจะละความพยาบาทได้แน่
๓.๑ วิธีการเจริญเมตตา
ผู้ปฏิบัติกรรมฐานที่ใคร่เจริญเมตตา ก่อนอื่นต้องตัดปลิโพธน้อยใหญ่ อันเป็นเครื่องกังวลใจ ๑๐
ประการซึ่งปรากฏในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า ที่อยู่
ตระกูล ลาภสักการะ หมู่คณะ
การงาน การเดินทาง ญาติพี่น้อง
ความเจ็บป่วย
การศึกษาและอิทธิฤทธิ์
เพื่อจะได้ปฏิบัติกรรมฐานได้โดยสะดวก
ไม่มีสิ่งกวนใจ
อันดับแรก พึงพิจารณาให้เห็นโทษของโทสะ และอานิสงส์ของขันติก่อน อนึ่งโทษของโทสะนั้นมีมากมาย ดังตัวอย่างพระสูตรที่ว่า บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นบ้าง ดังนั้นเขาย่อมได้รับความโทมนัส และว่า บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำย่อมประพฤติทุจริตทางกายทางวาจาทางใจ[1] เมื่อเขาตายแล้ว ย่อมเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก และต้องพิจารณาให้ให้รู้อานิสงส์ของขันติ ทั้งนี้โดยอาศัยนัยที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เป็นหลักอาทิเช่น ขันติ
คือความยับยั้งชั่งใจไว้ได้เป็นธรรมเครื่องเผาบาปให้เหือดแห้งชั้นเยี่ยม และว่า
คุณธรรมที่จะเป็นเครื่องป้องกันความฉิบหายและนำไปซึ่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่มาให้แก่ตนและคนอื่น ที่ประเสริฐวิเศษยิ่งไปกว่าขันตินั้นย่อมไม่มี เพราะโทสะจะพึงละได้ และขันติจะพึงบรรลุได้ก็ด้วยภาวนา ใครๆ
ไม่อาจจะละโทษที่ตนยังมองไม่เห็น
หรือไม่อาจได้อานิสงส์ที่ตนไม่ทราบ[2]
เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาเห็นโทษของโทสะ และรู้อานิสงส์ของขันติแล้ว
ลำดับต่อไปผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจต่อบุคคลที่จะเจริญเมตตาไปก่อน เนื่องจากเมตตามีสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ คือผู้ปฏิบัติจำต้องเจริญเมตตาไปยังบุคคลต่าง
ๆ ดังนั้นเมื่อเริ่มเจริญเมตตาจำต้องรู้จักบุคคลที่เป็นโทษ
บุคคลที่ไม่ควรเจริญเมตตาเป็นอันดับแรกและบุคคลที่ควรเจริญเมตตาเป็นอันดับแรกก่อน ดังต่อไปนี้
บุคคลที่เป็นโทษต่อการเจริญเมตตา
มี ๖ จำพวก
แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑
บุคคลที่ไม่ควรเจริญเมตตาไปเป็นอันดับแรก
๔ จำพวก คือ
๑. อปฺปิยปุคฺคโล บุคคลที่ไม่เป็นที่รัก
๒. อติปฺปิยสหายโก บุคคลที่เป็นเพื่อนรักยิ่ง
๓. มชฺฌตฺโต บุคคลที่เป็นกลาง ๆ ไม่รักไม่ชัง
ในบุคคลทั้ง ๔ จำพวกนี้
ผู้ปฏิบัติไม่ควรเจริญเมตตาไปเป็นอันดับแรก เหตุที่ไม่ให้เจริญไปเป็นอันดับแรก
เนื่องจากผู้ที่ปฏิบัติเมตตายังมิเคยบำเพ็ญเมตตามาก่อนเลย
เมื่อแรกเริ่มปฏิบัติหากเจริญเมตตาไปยังบุคคลที่ยังไม่เป็นที่รักกระทำในใจว่าเป็นที่รัก บุคคลที่เป็นที่รักกระทำไว้ในใจว่าเป็นกลาง
ๆ บุคคลเป็นกลาง ๆ
กระทำไว้ในใจว่าเป็นที่เคารพรักและบุคคลที่เป็นศัตรูกันหากกระทำไว้ในใจความโกรธย่อมจะเกิดขึ้น จิตใจของผู้ปฏิบัติเองย่อมจะคัดค้าน ย่อมจะไม่ยอมรับ ย่อมจะสับสนวุ่นวาย ส่งผลให้จิตไม่เป็นสมาธิ
เมตตาย่อมจะไม่สมมารถเกิดขึ้นได้
และผู้ที่เจริญเมตตาไปให้ก็ไม่สามารถรับได้
ดังนั้นท่านจึงห้ามมิให้เจริญเมตตาไปในบุคคล ๔
จำพวกนี้ เป็นอันดับแรก
ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคแสดงไว้เป็นเชิงถามตอบว่า
ถาม เพราะเหตุไร
จึงไม่สมควรเจริญเมตตาไปในบุคคล
๔ จำพวก มีบุคคลที่ไม่เป็นที่รักเป็นต้น
ตอบ เพราะว่า
เมื่อผู้ที่เจริญเมตตาโดยเพ่งเอาคนที่เกลียดชังมาตั้งไว้ในฐานะเป็นคนที่รักนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ลำบากใจมาก
จึงห้ามมิให้เจริญเมตตาไปในคนที่ไม่เป็นที่รัก เป็นที่เกลียดชังเป็นต้น เป็นอันดับแรก
กลุ่มที่ ๒ บุคคลที่ไม่เจริญเมตตาไปให้มี ๒
จำพวกคือ
สำหรับบุคคลผู้ที่ต่างเพศกันนั้นก็คือคนเพศตรงกันข้ามนั้นเอง
เริ่มแรกผู้ปฏิบัติไม่ควรเพ่งเอามาเป็นอารมณ์โดยเจาะจง เนื่องจากว่าราคะคือความกำหนัดยินดีในเพศตรงกันข้ามย่อมจะเกิดขึ้นได้
เพราะสภาวะของเมตตาและราคะมีลักษณะใกล้เคียงกัน หากราคะซึ่งมาในรูปลักษณะของเมตตาขึ้นแล้ว เมตตาแท้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ดังนั้นท่านจึงห้ามมิให้เจริญเมตตาไปยังคนต่างเพศโดยเจาะจงก่อน
ในประเด็นนี้ก็สอดคล้องกันกับข้อความในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคซึ่งพรรณาไว้ในลักษณะเชิงถามตอบว่า
ถาม
เพราะเหตุไร จึงห้ามเจริญ้มตตาไปเจาะจงในบุคคลที่มีเพศต่างกัน
ตอบ
เพราะว่าบุคคลที่มีเพสต่างกัน เมื่อผู้ปฎิบัติเจริญเมตตาไปโดยเจาะจง
คือเพ่งเอาคนต่างเพศนั้นมาเป็นอารมณ์โดยเฉพาะ ราคะคือความกำหนัดยินดีในเพศก็จะเกิดขึ้นมาแทน[5]
สรุปได้ว่า
สาเหตุสำคัญที่มิให้ผู้ปฎิบัติเจริญเมตตาไปยังคนต่างเพศโดยเจาะจง
ก็จะเป็นเหตุให้ราคะเกิดขึ้นแทนได้ แต่มิใช้ท่านมิให้เจริญในเพศตรงข้ามเลย
ดังนั้นผู้ปฎิบัติสามมารถเจริญไปยังเพศตรงข้ามได้ แต่ให้เจริญไปในลักษณะไม่เจาะจง
เช่นเจริญว่าขอให้บุรุษทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุขเถิด
หรือขอให้หญิงทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุขเถิด
หรือเจริญไปโดยเจาะจงต่อบุคคลเหล่านี้คือ บิดามารดาหรือญาติพี่น้อง
เมื่อเจริญไปดังนี้ราคะก็จะไม่เกิดขึ้น สภาวะแห่งจิตก็ดำเนินไปสงบ
ถือว่าไม่เป็นการผิดหลักแต่ประการใด ดังนั้นผู้ปฎิบัติควรสังเกตพิจารณาสภาพจิตของตนให้ดี
หาเมตตาดำเนินไปสะดวกก็ปฎิบัติต่อไปได้ แต่หากราคะเกิดขึ้นก็ควรงดเว้นเสีย
เนื่องจากเมตตามีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์
คือต้องมีบุคคลเป็นต้นเป็นอารมณ์ คือเมื่อบุคคลนั้นตายไปเสียแล้ว
อารมณ์ที่จะให้เมตตาดำเนินไปย่อมไม่มี เมตตาจึงพลอยไม่สามารถดำเนินไปด้วยได้
ในประเนนี้ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคพรรณาไว้เชิงถามตอบว่า
ถาม เพราะเหตุไร จึงห้ามไม่ให้เจริญเมตตาไปในบุคคลที่ตายแล้ว
ตอบ เพราะว่า เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญเมตตาไปถึงคนที่ตายแล้ว เขาย่อมไม่สามารถที่จะบรรลุถึงอับปนาสมาธิ หรือแม้เพียงขั้นอุปจารสมาธิ…[7]
การที่ท่านห้ามมิให้เจริญไปยังบุคคลที่ตายแล้วเป็นต้น ก็เพราะเมตตาไม่สามารถดำเนินไปได้
และไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เนื่องจากไม่มีอารมณ์มารองรับ คือไม่มีผู้ที่จะได้รับเมตตาได้
ฝ่ายผู้ที่เจริญเมตตาเองก็ไม่อาจจะบรรลุอุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิได้เลย ดังนั้นเมื่อเมตตาฌานของตนเสื่อมลง
ก็ควรเปลี่ยนอารมณ์โดยการเจริญถึงบุคคลอื่นที่ยังมีชีวิตอยู่แทน เมื่อทำอย่างนี้ ก็จะบรรลุเมตตาฌานตามที่ตนเองประสงค์
ลำดับบุคคลที่ควรเจริญเมตตา
เมื่อผู้ปฎิบัติทราบถึงโทษของโทสะและอานิสงส์ของขันติ
ตลอดจนถึงบุคคลที่เป็นโทษต่อการเจริญเมตตาแล้ว
ลำดับต่อไปพึงทราบถึงลำดับบุคคลที่ควรเจริญเมตตา ซึ่งมีบุคคลที่ควรเจริญเมตตา ๕
ลำดับดังต่อไปนี้
ลำดับที่
๑ การเจริญเมตตาให้ตนเอง
ลำดับที่
๒ การเจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นที่รักเคารพ
ลำดับที่
๓ การเจริญเมตตาไปในเพื่อนผู้เป็นที่รักยิ่ง
ลำดับที่
๔ การเจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นกลางๆ
ลำดับที่
๕ การเจริญเมตตาไปในที่เป็นศัตรูกัน [8]
สำดับที่ ๑ การเจริญเมตตาไปในตนเอง
ในลำดับแห่งการเริ่มเจริญเมตตานั้น
ผู้ปฎิบัติพึงเจริญไปในตนเองเป็นอันดับแรก ก่อนด้วยการภาวนาซ้ำแล้วซ้ำอีก
ร้อยครั้ง พันครั้ง จนกว่าจิตจะประกอบด้วยเมตตา กลายเป็นจิตที่อ่อน ควรแก่การงาน เพื่อประโยชน์จะได้เป็นสักขีพยานแก่การเจริญไปยังบุคคลอื่น
ๆ ได้ ทั้งนี้เพราะความรักสิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่ากับความรักตนเองนั้นไม่มี เมื่อทำการ
เจริญเมตตาแก่ตนก่อนอยู่เสมอ ๆ แล้ว ความปรารถนาสุข กลัวทุกข์
อยากมีอายุยืนไม่อยากตาย ที่มีประจำใจอยู่นั้น
ย่อมเกิดขึ้นเป็นพิเศษแล้วก็นึกเปรียบเทียบไปในสัตว์ทั้งหลาย ว่าล้วนมีความปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทุกประการอย่างนี้ย่อมเป็นเหตุที่จะช่วยให้
เมตตาจิตเกิดขึ้นได้ง่าย และตั้งอยู่อย่างมั่นคง ตลอดจนเป็นเหตุปัจจัยในการบรรลุอุปจาร
สมาธิและอัปปนาสมาธิ ด้วยการภาวนาอย่างนี้ว่า
อหํ
สุขิโต โหมิ, นิททุกฺโข
ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีความสุขเถิด,
อย่าได้มีความทุกข์เลย
อเวโร อพยาปชฺโช อนีโฆ
สุขี อตุตานํ ปริหรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีเวรต่อใคร ๆ เถิด,
ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีความพยาบาท
อาฆาตปองร้าย
ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
ลำดับแห่งการเจริญเมตตา
ต้องเจริญไปยังตนเองก่อนแล้วจึงเจริญไปยังบุคคลอื่น หากมีคำถามว่า
เมื่อถือเอาตามลำดับนี้จะไม่เป็นการผิดต่อพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้หรือ
เพราะคำพระบาลีเหล่านั้นมิได้กล่าวถึงการเจริญเมตตาไปยังคนเองก่อนเลย เช่น
ก.ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวไว้ว่า
ก็ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไมตรีจิตไปตลอดทิศหนึ่งอยู่นั้นหมายถึงอย่างไร
หมายถึงภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตานั้น แผ่ไมตรีจิตไปยัง สัตว์ทังหลายทุกจำพวก
เหมือนกับที่ได้เห็นคนอื่นผู้ซึ่งรักใคร่ชอบพอกันแล้วก็เกิดเมตตารักใคร่กันขึ้นฉะนั้น[10]
ข. ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคไว้ว่า
เมตตาเจโตวิมุต
ที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคลโดยอาการ ๕
อย่างนั้น มีบทภาวนาว่าอย่างไร ภาวนาว่าอย่างนี้ คือ ขอสัตว์ทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุขบริหารตนเถิด[11]
ค. ในกรณีเมตตสูตรกล่าวว่าไว้ว่า
จากคำแปลพระบาลีในคัมภีร์ต่าง
ๆ ดังที่ยกมานั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้
ตรัสถึงการเจริญเมตตาไปในตอนต้นไว้เลย ก็มีได้หมายความว่า
การเจริญเมตตาไปในคนนี้ผิด ความจริงได้ปฏิบัติต้องยกเอาคนขึ้นมาเป็นสักขีพยานก่อนว่า สัตว์ทั้งหลายทุกชนิดย่อมปรารถนาความสุขให้แก่คนเองของเขาเหมือนกับเรา ดังนั้นเราจึงตองช่วยบรรเทาทุกข์ช่วยบำรุงสุขให้แก่สัตว์เหมือนทำให้แก่ตนเอง
ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
ความจริงแล้วการเจริญเมตตาไปในคนเองก่อนนี้มิได้คลาดเคลื่อนเลย
แม้แค่น้อย เพราะเหตุไร เพราะว่าในคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งท่านแสดงแค่การแผ่
เมตตาไปในบุคคลอื่นทั้งนั้น มิได้แสดงการแผ่ไปในคนเองเลยนั้น
ท่านจึงแสดงถึงวิธีเจริญเมตตาภาวนาที่จะให้สำเร็จผลถึงขั้นอัปป-นาสมาธิแค่ประการเดียว
ส่วนที่ว่าต้องเจริญเมตตาในตนเป็นอันดับแรกในที่นี้นั้น มุ่งหมายเอาวิธี
เจริญเมตตาภาวนาครั้งแรก
สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
“บัณฑิตได้คิดค้นคว้าคู่ไปจนทั่ว ทุกทิศแล้ว ก็มิไต้เห็นคนอื่นใด ณ ทิศไหนๆ
ที่จะเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของตน ตนของแต่ละบุคคลทุกจำพวก ย่อมเป็นที่รักมากอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตก็รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียน คนอื่น แม้ที่สุดจนถึงมดและปลวก”[13]
สรุปว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ความสำคัญกับตนเอง ในฐานะที่ตนเป็นที่รักของตน
ตนรักสุขเกลียดทุกข์ อยากเป็นอยู่ไม่อยากตาย ตนของบุคคลอื่นก็เป็นที่รักของเขา
เองเหมือนกัน มิความปรารถนาเหมือน ๆ กัน ดังนั้นการแผ่เมตตาให้ตนเองก่อน ปรารถนา
ให้คนเองมีความสุข เป็นการกระทำตนให้เป็นพยานของคนเอง เป็นการกระทำจิตให้อ่อน
ควรแก่การงาน เพื่อที่จะได้เจริญเมตตาไปยังบุคคลอื่นได้สะดวกยิ่งขึ้น
ถือว่าเป็นการกระทำ ที่สมควรแล้ว ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการผิดพุทธประสงค์แต่ประการใด
ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ อธิบายไว้ว่า
การแผ่เมตตาที่จะให้ได้อัปปนาฌานนั้นจะต้องแผ่ให้แก่ตนเองก่อนเพื่อประโยชน์จะได้เป็นสักขีพยานแก่การแผ่ไปยังบุคคลอื่น
ๆได้ทั้งนี้เพราะความรักสิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่ากับความรักคนเองไม่มี...
แล้วก็นึกเปรียบเทียบไปใน
สัตว์ทั้งหลายว่าล้วนมิความปรารถนาเช่นเดียวกับตนทุกประการ อย่างนี้แหละ
เป็นเหตุสำคัญที่จะช่วยให้เมตตาจิตเกิดขึ้นได้ง่ายและตั้งอยู่อย่างมั่นคงตลอดจนอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิเกิดขึ้น[14]
ลำดับที่ ๒ การเจริญเมตตาไปยังคนที่รักที่เคารพ
เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญเมตตาไปในตน เพื่อให้สำเร็จเป็นสักขีพยานเป็นอันดับแรก
ด้วยภาวนาวิธีดังแสดงมาฉะนี้แล้ว
ลำดับต่อไปพึงเจริญเมตตาไปในบุคคลอันเป็นที่รักเคารพ
ก่อนจะเจริญเมตตาไปในบุคคลที่รักนั้น เพื่อที่จะพยุงเมตตาให้เกิดขึ้นโดยง่าย ผู้ ปฏิบัติพึงระลึกถึงคุณธรรมคุณงามความดี อันเป็นเหตุชวนให้เกิดความรักความพอใจ เช่นการให้ทาน
การเจรจาไพเราะหรือระลึกถึงคุณธรรมอันชวนให้เกิดความเคารพและความสรรเสริญ
เช่นความมีมรรยาทงาม การมีความรู้กว้างขวาง ความมีศีล และควรแก่ การเคารพบูชาของบุคคลอันเป็นที่รักก่อน
เมื่อได้ระลึกถึงคุณธรรมหรือคุณงามความดี อัน เป็นเหตุให้เกิดความพอใจแล้ว
ต่อจากนี้นั้นพึงเจริญเมตตาไปในบุคคลเหล่านั้นว่า
เอส สปฺปุริโส สุชิโต
โหตุ นิทฺทุกโข
เอส สปฺปุริโส อเวโร อพฺยาปชฺโช อนีโฆ สุขี อตฺตานํ ปริหรตุ
“ขอท่านผู้เป็นสัตบุรุษนั้น
จงอย่าได้มีเวรต่อไครเลย, จงอย่าไดัมีความเบียดเบียน,
จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย,
จงมีความสุขรักษาตนให้พ้นจากทุกข์เถิด”
ผู้ปฎิบัติพึงเพียรพยายามภาวนาซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่า ร้อยครั้งพันครั้ง จนกว่าจิตจะเป็น สมาธิอันประกอบด้วยเมตตา
หรือจนกว่าจะบรรลุอัปปนา คือเมตตาจะบังเกิดขึ้น
ลำดับที่ ๓ การเจริญเมตตาไปในเพื่อนผู้เป็นที่รักยิ่ง
เมื่อผู้ปฎิบัติเจริญเมตตาไปในบุคคลผู้เป็นที่รักเป็นที่เคารพเช่นนั้นแล้ว
ย่อม สามารถบรรลุอัปปนา ผู้ปฎิบัติก็ไม่ควรพอใจหยุดอยู่ด้วยเหตุที่ได้บรรลุความสำเร็จเพียง
เท่านี้พึงขวนขวายเพื่อเจริญเมตตาไปในเพื่อนที่รักยิ่งต่อไป
ในการปฏิบัติ
เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นที่รักเคารพจนสำเร็จถึง
ขึ้นอัปปนาแล้ว ทำจิตนั้นให้อ่อน ควรแก่การงาน ถัดนั้นจึงข่มจิตที่มีภาวะรักมากในบุคคล
ที่รักเคารพนั้นให้ลดลงมาตั้งอยู่ในภาวะที่เป็นความรักอย่างธรรมดา
แล้วเพียรเจริญเมตตาไปในเพื่อนผู้เป็นที่รักยิ่งต่อไป ด้วยการภาวนาว่า
เอส
อติปฺปิยสหายโก สุขิโต โหตุ, นิทฺทุกฺโข
“ขอเพื่อนที่รักยิ่งนั้นจงมีความสุขเถิด,
จงอย่ามีความทุกข์เฉย”
เอส
อติปฺปิยสหายโก อเวโร อพฺยาปชฺโช อนีโฆ สุขี อตฺตานํ ปริหรตุ
“ขอเพื่อนที่รักยิ่งนั้น
จงอย่ามีเวรต่อใคร ๆ เลย, จงอย่าได้มีความเบียดเบียน,
จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย, ขอจงมีความสุขรักษาตนให้พ้นจากทุกข์เถิด”
ผู้ปฏิบัติพึงเพียรพยายามภาวนาซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่า ร้อยครั้งพันครั้ง จนกว่าจิตจะเป็น สมาธิอันประกอบด้วยเมตตา
หรือจนกว่าจะบรรลุอัปปนาคือเมตตาจะบังเกิดขึ้น
ลำดับขั้นที่ ๔ การเจริญเมตตาไปยังคนที่เป็นกลาง ๆ
เมื่อผู้ปฎิบัติเจริญเมตตาภาวนาไปในเพื่อนผู้เป็นที่รักยิ่งเช่นนั้นแล้ว
ย่อมสามารถ บรรลุอัปปนา
ผู้ปฏิบัติก็ไม่ควรพอใจหยุดอยู่ด้วยเหตุที่ได้บรรลุความสำเร็จแต่เพียงเท่านี้ พึงขวนขวายเพื่อเจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นกลาง
ๆ ต่อไป
ในการปฏิบัติเมื่อผู้ปฎิบัติได้เจริญเมตตาไปในเพื่อนที่เป็นที่รักมากจนสำเร็จถึง
ขึ้นอัปปนาแล้ว ทำจิตนั้นให้อ่อน ควรแกjการงาน ถัดนั้นจึงข่มจิตที่มีภาวะรักมากในเพื่อนที่
รักมากนั้นให้ลดลงมาตั้งอยู่ในภาวะที่เป็นความรักอย่างธรรมดา
แล้วเพียรเจริญเมตตาไปไน บุคคลที่เป็นกลาง ๆ ต่อไป ด้วยการภาวนาว่า
เอส มชฺฌชฺโต
สุขิโต โหตุ นิทฺทุกฺโข
“ขอบุคคลที่เป็นกลาง
ๆ นั้นจงมีความสุขเถิด, จงอย่ามีความทุกข์เลย”
เอส มชฺฌชฺโต อเวโร
อพฺยาปชฺโช อนีโฆ สุขี
อตฺตานํ ปริหรตุ
“ขอบุคคลที่เป็นกลางๆ
นั้นจงอย่ามีเวรต่อใคร ๆ เลย, จงอย่าได้มีความเบียดเบียน
จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,จงมีความสุขรักษาตนให้พ้นจากทุกข์เถิด”
ผู้ปฏิบัติพึงเพียรพยายามภาวนาซ้ำแล้ว
ซํ้าเล่า ร้อยครั้งพันครั้ง จนกว่าจิตจะเป็นสมาธิอันประกอบด้วยเมตตา
หรือจนกว่าจะบรรลุอัปปนา คือเมตตาจะบังเกิดขึ้น
ลำดับขั้นที่ ๕ การเจริญเมตตาไปยังคนที่เป็นศัตรู
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นกลาง
ๆ เช่นนั้นแล้วย่อมสามารถ บรรลุอัปป-นาได้
แต่ผู้ปฏิบัติก็ไม่ควรพอใจอยู่ด้วยเหตุที่ได้บรรลุความสำเร็จเพียงท่านี้
พึงขวนขวายเพื่อ เจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นศัตรูต่อไป
ในการปฏิบัติ
เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญเมตตาไปในบุคคลที่เป็นกลาง ๆ จนสำเร็จถึง ขั้นอัปปนาแล้ว
ทำจิตนี้นั้นให้อ่อน ควรแก่การงาน ถัดนี้นั้นจึงข่มจิตที่มีภาวะรักมากในบุคคลที่
เป็นกลาง ๆ นั้นให้ลดลงมาตั้งอยู่ในภาวะที่เป็นความรักอย่างธรรมดา
แล้วเพียรเจริญเมตตา ไปในบุคคลที่เป็นศัตรูต่อไป
เพื่อให้ความรู้สึกที่เป็นศัตรูต่อกันเลือนหายกลายเป็นภาวะจิตที่เป็นกลาง ๆ
แล้วจึงยกจิตขึ้นสู่ภาวะจิตที่มีความรักธรรมดาสามัญ ต่อจากนั้นพยายามพัฒนาจิต
โดยการเจริญเมตตาภาวนาไปยังคนที่เป็นศัตรูแล้ว ซ้ำอีก จนกระทั่งเกิดความรักความ
ปรารถนาดีต่อเขาอย่างจริงใจต่อไปว่า
เอส เวรีปุคฺคโร สุขิโต
นิทฺทุกฺโข
“ขอบุคคลที่เป็นสัตว์นั้นจงมีความสุขเถิด,จงอย่ามีความทุกข์เลย”
เอส เวรีปุคฺคโล
อเวโร อพฺยาปชฺโช อนีโฆ
สุขี อตฬตานํ ปริหรตุ”
ขอบุคคลที่เป็นศัตรูนั้นจงอย่ามีเวรต่อใคร
ๆ เลย, จงอย่าได้มีความเบียดเบียน,
จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย, ขอจงมีความสุขรักษาคนให้พ้นจากทุกข์เถิด
ผู้ปฏิบัติพึงเพียรพยามภาวนา ร้อยครั้ง
พันครั้ง จนกว่าจิตจะเป็นสมาธิอันประกอบด้วยเมตตา หรือจนกว่าจะบรรลุอัปปนา
คือเมตตาจะบังเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติกระทำได้ดังกล่าวมาแล้ว
ถือได้ว่าเป็นผู้กระทำกรรมที่บุคคลกระทำได้โดยยากยิ่ง
ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่มีศัตรูคู่เวร
การเจริญเมตตาไปยังบุคคลที่เป็นศัตรูกันของผู้ปฏิบัติท่านกล่าวไว้แล้ว
แต่มีบางท่านผู้ที่ไม่มีศัตรูไม่เคยเป็นศัตรูต่อใครเลย มิได้ประพฤติความเสียหายให้เป็นที่โกรธเคือง
แก่ใคร หรือเป็นมหาบุรุษผู้มีอัธยาศัยอันกว้างใหญ่
ผู้สมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมคือ ขนติ เมตตาและกรุณาที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติก่อน
ๆ แม้มีคนอื่นทำความเสียหายให้ก็มีได้
โกรธเคืองเป็นผู้อดกลั้นได้ทุกสิ่งทุกอย่างผู้ปฏิบัติผู้มีคุณลักษณะนี้จะปฏิบัติอย่างไร
สำหรับในประเด็นนี้
ท่านได้กล่าวแก้ไว้แล้วในคัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า “ส่วนผู้ปฏิบัติผู้ไม่มีคนเป็นคู่เวรกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องขวนขวายในการเจริญเมตตาไปใน
คนคู่เวรกัน ส่วนการเจริญเมตตาภาวนาไปยังคนที่เป็นศัตรูกันนั้น
ท่านแสดงไว้เฉพาะแก่ผู้ ปฏิบัติที่มีคนเป็นคู่เวรกันเท่านั้น”[16]
วิธีเจริญเมตตาไปยังบุคคลที่เป็นศัตรู เมื่อเกิดความโกรธขึ้น
ผู้ปฏิบัติขณะเจริญเมตตาไปยังบุคคลที่เป็นศัตรูกันนั้น เมื่อไประลึกนึกถึงการ กระทำอันชั่วร้ายของเขา
เช่นการข่มเหงรังแก เบียดเบียนเป็นต้น ความโกรธ ความเคียด แค้น
ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ควรระงับความโกรธแค้นเป็นต้นลงเสียให้จงได้
ด้วยวิธีการระงับความโกรธเป็นต้นดังต่อไปนี้
วิธีที่ ๑ การกลับเข้าเมตตาใหม่
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญเมตตา
น้อมจิตเขาไปในบุคคลผู้เป็นศัตรูปฏิฆะความเคียดแค้นย่อมเกิดขึ้นเพราะการระลึกนึกถึงความผิดที่เขาได้ทำให้แก่ตนในครั้งก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจงหวนกลับมาเข้าเมตตาใหม่
ที่ตนได้ทำให้เกิดมีแล้วในบุคคลจำพวกก่อน ๆ
เช่นบุคคลที่เป็นที่เคารพรักเป็นต้นออกแล้วจงพยายามเจริญเมตตาไปในคนคู่เวรกันนั้นขา
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะระงับความโกรธแค้นเป็นต้นให้หายไป แต่หากว่าไม่สามารถระงับความโกรธแค้นเป็นต้นให้หายไป
ผู้ปฏิบัติก็ควรบำเพ็ญวิธีที่สองต่อไป
วิธีที่ ๒ การระลึกถึงพระพุทธโอวาท
ผู้ปฏิบัติจงพยายามเพื่อละความโกรธแค้นนั้นให้หนักขึ้นเพื่อระงับให้ได้
ด้วยการ ระลึกนึกถึงพระพุทธโอวาท ที่ได้ทรงแสดงเกี่ยวกับการระงับความโกรธแค้นโดยเฉพาะด้วยการพยายามอบรมสั่งสอนตักเตือนตนเองบ่อย
ๆ โดยการระลึกนึกถึงพระพุทธโอวาทมา พรํ่าสอนว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้แล้วมิใช่หรือว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกโจรผู้มีใจบาปหยาบช้า
จะพึงเอาเลื่อยมีด้ามสองข้างมาเลื่อยอวัยวะทั้งหลาย, ผู้ใดเกิดมีใจประทุษร้ายต่อพวกโจรนั้น
เขาชื่อว่าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของเราเพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายนั้น...[17]
ผู้ใดโกรธตอบต่อคนที่โกรธก่อน
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนเลวเสียยิ่งกว่าคน ที่โกรธก่อน...[18]
สรุปความว่าเมื่อผู้ปฏิบัติได้พรํ่าสอนเตือนตนเองให้ระลึกถึงพระพุทธโอวาทที่
กล่าวมาแล้ว เพื่อให้ละความโกรธแค้น
และทรงเน้นย้ำไม่ให้โกรธตอบบุคคลที่ทำให้โกรธก่อน
เมื่อได้เตือนตนให้ระลึกนึกถึงพระพุทธโอวาทดังกล่าวอยู่บ่อย ๆ
ความโกรธแค้นก็จะค่อยระงับไปในที่สุด แต่เมื่อไม่ระงับผู้ปฏิบัติก็พึงบำเพ็ญวิธีที่
๓ ต่อไป
วิธีที่ ๓ การระลึกถึงความดีของผู้นั้น
เมื่อผู้ปฏิบัติ
เพียรพยายามอัญเชิญพระพุทธโอวาทมาพรํ่าสอนตักเตือนตนเองอยู่อย่างนี้
ถ้าหากความโกรธแค้นสงบระงับลงได้ก็นับว่าเป็นการดี
แต่ถ้าหากยังไม่สงบระงับจงเพียรพยายามหาวิธีการอื่นต่อไป กล่าวคือถ้าคุณธรรมใด ๆ
ก็ตามของคนที่เป็นศัตรูคู่เวรนั้น
มีอยู่ซึ่งเป็นส่วนที่ดีงามของบุคคลนั้น เช่นความมีมารยาทเรียบร้อย
พูดจาไพเราะเป็นต้น
เมื่อนำมาพิจารณาระลึกนึกดูให้ดีแล้วก็จะสามารถทำให้เกิดความเลื่อมใสพอใจขึ้นมาไค้ดังนั้นควรระลึกนกถึงคุณธรรมนั้น
ๆ มาระงับความอาฆาตแค้นให้หายไป
วิธีที่ ๔ การพร่ำสอนตนเอง
แม้ผู้ปฏิบัติจะพยายามบรรเทาความอาฆาตแค้น
ด้วยการระลึกถึงความดีของผู้นั้น โดยวิธีการดังกล่าวมาแล้ว
แต่ความอาฆาตแค้นก็มิได้ระงับไปยังเกิดขึ้นมีอยู่อีก ถ้าเป็นเช่นนี้
ผู้ปฏิบัติพึงเปลี่ยนวิธีการใหม่ ด้วยการพยายามพรํ่าสอนตนเอง
ด้วยวิธีการตามที่ปรากฏใน ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคว่า[19]
...ก็ในเมื่อศัตรูเป็นคู่เวรทำทุกข์ให้แก่เจ้าได้ก็เฉพาะทางร่างกายของเจ้าเท่านั้น
เหตุไฉน เจ้าจงปรารถนาที่จะเก็บเอาความทุกข์นั้นเอามาใส่ไว้ในใจของคน
ซึ่งมิใช้วิสัยที่คนผู้เป็นศัตรูคู่เวรจะทำให้ได้เล่า...
วิธีที่ ๕ การพิจารณาถึงการที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
เมื่อผู้ปฏิบัติแม้จะได้พยายามพรํ่าสอนตนเองอยู่
ด้วยวิธีการดังกล่าวมาแล้วก็ตาม แต่ความโกรธแค้นก็ยังไม่สงบระงับลงอยู่นั้นเอง
ผู้ปฎิบัติจงใช้วิธีการใหม่ด้วยการพิจารณา ถึงภาวะที่ตนและคนอื่น ๆ
เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ คนต่อไป การพิจารณาถึงกรรมทั้งของตนและคนอื่นนั้น
พึงพิจารณาถึงภาวะที่ตนเองเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนก่อนเป็นอันดับแรกดังนี้ว่า
เจ้าโกรธคนอื่นเขาแล้ว จักได้ประโยชน์อะไร
กรรมอันมีโทสะเป็นเหตุของเจ้านี้จักบันดาลความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้นแก่ตัวเจ้าเองมิใช่หรือ
เพราะว่า เจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม...
เมื่อผู้ปฎิบัติได้พิจารณาถึงภาวะที่ตัวเองเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนอย่างนี้แล้ว
จงพิจารณาถึงภาวะที่คนอื่นมีกรรมเป็นของแห่งตนเป็นลำดับต่อไปว่า
เขาผู้นั้นโกรธเจ้าแล้ว เขาจักได้ประโยชน์อะไร
กรรมอันมีโทสะเป็น เหตุของเขานั้น จักเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียแก่เขาเองมิใช่หรือ
เพราะว่าท่านผู้นี้ก็เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน...
...ตัวเขานั้นเมื่อทำกรรมนี้ลงไปก็เท่ากับโปรยธุลี คือความโกรธใส่คนเอง เหมือนบุรุษผู้ยืนทวนลมอยู่
หวังจะโปรยธุลีใส่คนอื่น ก็เท่ากับโปรยใส่ ตนเองฉะนั้น[21]
วิธีที่ ๖ การพิจารณาถึงพระพุทธจริยาปางก่อน
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาถึงภาวะที่ตนและคนอื่นเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนดังกล่าว
มาแล้วนี้ ความโกรธแค้นก็ไม่อาจสงบระงับลงได้
แต่นั้นพึงระลึกนึกถึงพระจริยาวัตรของพระศาสดาในกาลก่อน
คือคุณงามความดีที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาในกาลก่อนเพื่อบรรเทาความโกรธแค้นต่อไป
ในการระลึกถึงบุพจริยาคุณของพระศาสดานี้นั้น มีวิธีที่ผู้เจริญควรจะนำมาพิจารณาสอนตนด้วยวิธี
ที่พระพิมลธรรมกล่าวไว้ในหนังสือวิสุทธิมรรคความไทยว่า
พระศาสดาของเจ้าในกาลก่อนแต่กาลตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแม้เป็น
พระโพธิสัตว์...
ก็มิได้ทรงยังพระหฤทัยให้คิดประทุษร้ายในผู้เป็นศัตรูแม้ว่า
ศัตรูเหล่านั้นจะพยายามปลงพระชนม์พระองค์ในพระชาตินั้น ๆ มิใช่หรือ
พระจริยาวัตรของพระบรมศาสดาในกาลก่อนที่พึงนำมาสอนตนเองมีมากมาย หลายเรื่อง
ดังเช่นเรื่องพระเจ้าสีลวะในสีลวชาดก[22]
เป็นต้น
วิธีที่ ๗ การพิจารณาถึงความที่เคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
ผู้ปฎิบัติซึ่งตกเป็นทาสของกิเลสมาช้านาน แม้จะได้มีความพยายามพิจารณาถึงพระคุณอันเป็นส่วนบุรพจริยาองพระศาสดา
โดยวิธีการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นอยู่
แต่ความโกรธแค้นนั้นยังไม่สงบระงับอยู่นั่นเองผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาถึงบทแห่งพระสูตรทั้งหลาย
ที่มีความเนื่องกันดัวยสังสารวัฏอันยาวนาน ซึ่งสืบค้นเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้
สมดังพระพุทธพจน์ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ผู้ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นที่น้องชาย
ไม่เคยเป็นพี่น้องหญิง ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดา มิใช่หาได้ง่าย[23] ผู้ปฏิบัติพึงส่งจิตไปในบุคคลผู้เป็นเวรนั้น
ในหนังสือวิสุทธิมรรคความไทยกล่าวไว้ว่า
สตรีผู้นี้เคยเป็นมารดาของเรามาแล้วในชาติปางก่อน...
สตรีผู้นี้เคยเป็น ธิดาของเรามา
และแต่ละคนก็เคยได้ทำอุปการะแก่เรามาเป็นอันมาก
การที่เราจะทำใจให้โกรธแค้นในบุคคลนั้น ๆ ย่อมเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ฉะนี้[24]
วิธีที่ ๘ การพิจารณาถึงอานิสงส์ของเมตตา
ผู้ปฏิบัติได้พยายามพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
นี้ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ความโกรธแค้นสงบระงับลงได้
แต่นั้นผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาถึงอานิสงส์ของเมตตา
โดยนัยว่าหากไม่ทำจิตที่โกรธแค้นอยู่นี้ให้สงบระงับลงได้แล้วไซร้
เจ้าก็จักเหินห่างอานิสงส์ ของเมตตา ๑๑ ประการนี้ ด้วยวิธีการอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มิใช่หรอว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุเจริญ เมตตาเจโตวิมุติ ส้องเสพ... อานิสงส์ ๑๑
ประการเป็นอันหวังได้[25]
วิธีที่ ๙ การพิจารณาถึงการแยกธาตุ
ผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถที่จะทำความโกรธแค้นให้สงบระงับลงได้แม้ด้วยวิธีการ
ดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้
ลำดับต่อไปพึงนึกเอาคู่เวรนั้นขึ้นมาพิจารณาใครแยกออกให้เห็น
เป็นแต่เพียงธาตุส่วนหนึ่ง ๆ เท่านั้น
ผู้ปฏิบัติพึงสอนตนด้วยวิธีการแยกธาตุอย่างนี้ว่า “ก็ตัวเจ้าเมื่อโกรธบุคคลคู่เวรนั้น
โกรธอะไรเขาเล่า คือในอาการ ๓๒ โกรธผมหรือ หรือว่าโกรธ ขน... หรือว่าธัมมธาตุ หรือว่ามโนวิญญาณธาตุ”[26]
เมื่อผู้ปฏิบัติทำการพิจารณาแยกชิ้นส่วนต่าง
ๆ ของบุคคลผู้เป็นคู่เวรนั้นออกมา
โดยกำหนดให้อยู่ในลักษณะภาวะที่เป็นสักว่าธาตุกล่าวคือเป็นแต่เพียงสักว่าชิ้นส่วนอันหนึ่ง
ๆประกอบกันขึ้นเท่านั้นคงกล่าวมาแล้วนั้น
ดังนั้นผู้ปฏิบัติก็สามารถมองเห็นสภาวะธรรม
เหล่านั้นด้วยปัญญามีความเข้าใจชัดแจ้งว่าฐานที่ตั้งแห่งความโกรธย่อมไม่มีอยู่ในคนคู่เวรกันนั้น เพราะว่าธาตุทั้งหลายแต่ละธาตุ ๆ
อันมีผมเป็นตน เป็นสิ่งอันใคร ๆ ไม่ควรโกรธและนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหลายเหล่านี้แล้วก็หามีคนไม่
วิธีที่ ๑๐
การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้ปันสิ่งของ
เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาด้วยวิธีการแยกธาตุแล้ว ถ้าความโกรธแค้นยังไม่สงบระงับลงได้
ก็พึงทำทานสังวิภาคคือการให้และการแบ่งปันสิ่งของ กล่าวคือพึงให้ปันของ ๆ
ตนแก่คนคู่เวรกันและตนเองก็ควรรับสิ่งของ ๆ คนคู่เวรนั้นด้วย
แต่ถ้าคู่เวรให้สิ่งของที่ไม่ควร แก่การรับ คือเป็นของไม่บริสุทธิ์ซึ่งได้มาจากการทำอาชีพที่ทุจริต มีเครื่องใช้ไม่เป็นของควรแก่การใช้สอย
ก็พึงให้แค่ของตนเท่านั้นแก่เขา อย่าพึงรับของเขาเลย
เมื่อผู้ปฏิบัติทำการให้แบ่งปันได้อย่างนี้แล้วความอาฆาตพยาบาทในบุคคลนั้นก็จะสงบลงได้
อันชื่อว่าการให้ปันนี้ย่อมผูกมิตรไมตรีกันไว้ได้
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ เพราะทานนี้มีอานุภาพมาก
สมด้วยคำประพันธ์อันพระโบราณาจารย์กล่าวว่า
“การให้ปราบคนที่ใคร
ๆ ปราบไม่ไค้ (คนพยศ) การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จแต่ผลได้ ผู้ให้
(ฝ่ายเงย) ย่อมฟูใจขึ้น ผู้รับ (ฝ่ายก้ม) ย่อมอ่อนน้อมลงทั้งนี้เพราะการให้
และการเจรจาไพเราะประกอบกัน”[27]
เมื่อผู้ปฏิบัติได้พยายามระงับความโกรธแค้นในบุคคลผู้เป็นคู่เวรลงได้แล้ว ด้วยอุบายวิธีการต่าง ๆ
มีการระลึกนึกถึงพระพุทธโอวาทในกกฐปมสูตรเป็นต้น ตามที่ได้แสดง
เป็นลำดับมาแล้วนั้น
จิตของผู้ปฏิบัติย่อมแผ่ไปเมตตาในบุคคลผู้เป็นคู่เวรนั้นด้วยวิธีแห่งเมตตา ภาวนา
เหมือนอย่างที่เป็นไปในบุคคลผู้เป็นที่เคารพรัก ผู้เป็นสหายที่รักยิ่ง
และคนที่เป็น กลาง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ปฏิบัติพึงเจริญเมตตาโดยสีมสัมเภทต่อไป
วิธีเจริญเมตตาโดยสีมสัมเภท
เมื่อผู้ปฏิบัติได้พยายามบรรเทาความโกรธแค้น
ในศัตรูคู่เวรให้ระงับลงได้แล้วด้วยอุบายวิธีต่าง
ๆจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็จะแผ่ไปน้อมไปแม้ในศัตรูคู่เวรกันได้ด้วยวิธีแห่งเมตตาภาวนาเช่นเดียวกับในคนที่เป็นที่เคารพรักเป็นต้น ลำดับนั้นผู้ปฏิบัติพึงเจริญเมตตาให้บ่อยขึ้น
แล้วทำเมตตาให้เป็นสีมสัมเภทกล่าวคือทำให้จิตเสมอกันในบุคคล ๔ จำพวกได้แก่
๑.
ตนเอง ๒. คนที่เป็นที่รัก ๓. คนที่เป็นกลาง ๆ ๔. คนเป็นศัตรูคู่เวรต่อไป
คำว่า
“สีมสัมเภท” หมายถึงการทำลายขอบเขตแห่งเมตตา คือไม่ทำการแบ่งแยกว่าตน, คนเป็นที่รัก,
คนเป็นกลาง ๆ และคนที่เป็นคู่เวร เนื่องจากคน ๔
จำพวกนี้เป็นเขตแดนที่จะแผ่เมตตาไปถึง เมื่อแรกเจริญเมตตานั้นก็เจริญไปทีละเขต
ครั้นภาวนามีกำลังกล้าขึ้นจิตก็เห็นเสมอในคน ๔ จำพวกนี้
ไม่มีการแยกเป็นเราเป็นเขาดังนี้ เรียกว่า สีมสัมเภท
ลักษณะของสีมสัมเภท
ลักษณะของเมตตาที่เป็นสัมสัมเภทนั้น
คือขณะที่ผู้ปฎิบัติกำลังเจริญเมตตานั่งอยู่ ในกลุ่มเดียวกันกับภิกษุที่เป็นที่รัก,
ที่เป็นกลาง ๆ และที่เป็นคู่เวร รวมเป็นสี่ทั้งตนเองหาก มีพวกโจรเข้าไปหาแล้วประกาศว่าต้องการคนผู้หนึ่งเพื่อนำไปฆ่าทำพลีกรรม
ในกรณีเช่นนี้
ถ้าผู้ปฏิบัตินั้นกล่าวว่าจงเอารูปใดรูปหนึ่งไปตามชอบใจเถิดไม่ชื่อว่าทำเมตตาให้เป็นสีมสัมเภท
หรือถ้าผู้ปฏิบัติจะพึงกล่าวว่าเชิญเอาตัวฉันไปเถอะ ก็ไม่ชื่อว่าได้ทำเมตตาให้เป็น
สีมสัมเภทเช่นเดียวกัน
เพราะเหตุว่าเมื่อผู้ปฎิบัติยังมีความปรารถนาให้โจรเอาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอยู่นั้น
ก็ชื่อว่าเธอเป็นผู้มีความมุ่งร้ายในภิกษุรูปนั้นอยู่
และเป็นผู้ยังมีความปรารถนาใน ภิกษุรูปอื่นนอกนี้ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ยังมีจิตไม่สม่ำเสมอในคนทั้ง ๔ ต่อเมื่อผู้ปฏิบัตินั้น
ไม่เห็นคนที่คนควรจะให้แก่พวกโจรแม้สักคนหนึ่งในจำนวน ๔ คนนั้น วางจิตได้เสมอทั้งในตนและคนสามคนนั้นดังนี้
จึงได้ชื่อว่าทำเมตตาให้เป็นสีมสัมเภท ในปกรณ์วิเสสวิสุทธมรรคกล่าวว่า
ภิกษุผู้เจริญเมตตานั้นตราบใดที่ยังเห็นความแตกต่างกันอยู่ในบุคคล
๔ จำพวก
ไม่จัดว่าเป็นผู้มีความรักด้วยเมตตาแท้ ต่อเมื่อใดภิกษุนั้นทำลาย ขอบเขตแห่งเมตตา
ต่อบุคคล ๔ จำพวกเสียได้
จึงจะสามารถแผ่เมตตาแท้ไปได้ทั่วโลกถึงมนุษย์กับเทวโลกอย่างสมํ่าเสมอกัน
ขอบเขตแห่งเมตตาไม่ปรากฏมีแก่ภิกษุผู้ใดเธอได้ชื่อว่าเป็นบุคคลประเสริฐกว่าคนที่ยังเห็นความแตกต่างในบุคคล
๔ จำพวกข้างต้นนั้น[28]
เจริญเมตตาบรรลุถึงขั้นปฐมฌาน
เมื่อผู้ปฎิบัติเจริญเมตตากรรมฐานถึงขั้นสีมสัมเภทแล้ว ต่อจากนั้นจงทำสีมสัมเภทนั้นให้เป็นนิมิตกรรมฐาน
แล้วพยายามส้องเสพนิมิตนั้นให้มากขึ้น ทำให้เจริญขึ้น เพียรทำให้มาก ๆ ยิ่งขึ้น
ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถบรรลุถึงอัปปนาสมาธิอันได้แก่ปฐมฌาน ซึ่งเป็นฌาน1ขั้นแรก โดยจะไม่เป็นการลำบากอะไรเลย
ดัวยภาวนาวิธีเพียงเท่านี้เป็นอันว่าผู้ปฏิบัติเมตตาได้บรรลุปฐมฌานซึ่งประกอบด้วยเมตตา
เมตตาฌานและความเกิดขึ้นแห่งเมตตาฌาน
คำว่าเมตตาฌาน หมายถึงฌานที่ปรากฏขึ้นด้วยการเจริญเมตตา
ผลของฌานนั้น คือได้รับความสงบแห่งจิตใจ เหมือนกับการเจริญกรรมฐานอื่น ๆ
แต่ผลลักษณะพิเศษของเมตตาภาวนานี้คือสภาพจิตที่ประกอบดัวยเมตตาความปรารถนาดีที่แผ่ไปยังสรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทุกทิศ
ทุกสถานที่ นี้เรียกว่าเมตตาฌาน
คือฌานที่ได้ด้วยอำนาจของการเจริญ เมตตา และบุคคลผู้ได้เมตตาฌานนี้
พระผู้มีหระภาคเจ้าทรงตรัสรับรองไว้ว่า เมื่อทำกาละ
แล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกาและสุทธาวาส ดังปรากฏในปฐม
เมตตาสูตรและทุติยเมตตาสูตร ซึ่งกล่าวถึงผู้เจริญอัปปมัญญาใน ๔ จำพวกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก นี้เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่...
เมื่อทำกาละย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาขึ้น พรหมกายิกา[29]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่...
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า สุทธาวาส[30]
เจริญเมตตาตามแนวจตุกกนัยและปัญจกนัย
เมื่อผู้ปฎิบัติได้บรรลุถึงขึ้นปฐมฌานแล้ว
พยายามเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไป โดยใช้ นิมิตคือสีมสัมเภทนั้นแหละเป็นอารมณ์กรรมฐาน
ส้องเสพนิมิตนั้นให้มากขึ้น เพียรทำให้มากยิ่งขึ้น
ก็จะได้บรรลุถึงฌานขึ้นสูงขึ้นไปโดยลำดับ ในปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า
“ในกรณีที่นับจำนวนฌานเป็น ๔ ขั้นที่เรียกว่า จตุกกนัย
ก็จะได้บรรลุทุติยฌานและตติยฌานเป็นขั้นสุดท้าย ไม่ถึงขั้นจตุตถฌาน
ในกรณีที่นับจำนวนฌานเป็น ๕ ขั้น ที่เรียกว่า ปัญจกนัย ก็จะได้บรรลุทุติยฌาน
ตติยฌาน และจตุตถฌานเป็นขั้นสุดท้าย ไม่ถึงขั้นปัญจมฌาน”[31] ทั้งนี้ เพราะเหตุที่จตุตถฌานโดยจตุกกนัยและปัญจกฌานโดยปัญจกนัย มีองค์ฌาน เป็นอุเบกขาเวทนา
เมตตานี้เป็นฟักฝ่ายแห่งโสมนัสเวทนา ดังนั้น
เมตตาภาวนาจึงไม่สามารถที่จะให้บรรลุถึงจตุตถฌานโดยจตุกกนัยและปัญจกฌานโดยปัญจกนัยได้
สีมสัมเภทเท่ากับปฏิภาคนิมิต
เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญเมตตาได้สำเร็จถึงขั้นปฏิภาคนิมิตหรือขั้นอุปจารสมาธิแล้วสีมสัมเภทย่อมเป็นไปสมํ่าเสมอ
ในกรรมฐานอื่น ๆ เช่น กสิณกรรมฐานเป็นต้น
ปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏให้เห็นเป็นอารมณ์ของฌานจิตโดยอาศัยอุคหนิมิตที่ได้มาด้วยการภาวนาซึ่งเรียกว่าดวงกสิณ
เป็นต้น ส่วนในเมตตากรรมฐานนี้ไม่มีปฏิภาคนิมิตปรากฏให้เห็นเหมือน อย่างนั้น
พระมหาสงกรานต์ ธมุมธโร
อธิบายนิมิตอันเกิดขึ้นจากการเจริญเมตตาดังนี้ว่า
๑. บริกรรมนิมิต คือนับตั้งแต่การเริ่มต้นแผ่เมตตา
ให้แก่ตนเองก่อนเป็นต้นไปจนถึงเวรีบุคคล
๒. อุคคหนิมิต คือนับตั้งแต่เมตตาจิตได้เกิดมีขึ้นทั่วไปในบุคคลทั้ง๔
จำพวกแต่ว่าขังไม่ถึงขั้นสีมสัม
๓.ปฏิภาคนิมิต คือเมื่อสำเร็จถึงขึ้นสีมสัมเภทแล้ว
อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตของเมตตาภาวนามีลักษณะที่เป็นไปโดยอ้อมเพราะเป็นกรรมฐานที่ใช้ใจอย่างเดียวคือใช้เป็นวิธีการแผ่เมตตาแบบบริกรรมในเบื้องต้น เมื่อคล่องแคล่วจำขึ้นใจแล้ว
พึงระลึกไปด้วยจิตใจของตน แล้วจึงได้ทำการแผ่ไป
โดยมิได้อาศัยการเห็นและการกระทบขณะทำการเจริญกรรมฐานนั้น ฉะนั้นอุคคหนิมิต
และปฏิภาคนิมิต จึงไม่มีโดยตรง พระมหาสงกรานต์ ธมฺมธโร[32] อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า
๑. บริกรรมภาวนา ในขณะที่บริกรรมด้วยใจว่า
อเวโร โหมิ หรือ อเวโร โหตุ เป็นต้น เป็นไปในอัตตบุคคล ปิยบุคคล มัชฌัตตบุคคล และเวรีบุคคล
เรียกว่าบริกรรมภาวนา
๒.
อุปจารภาวนา เป็นขณะที่กำลังแผ่เมตตา ในระหว่างที่ได้อุคคหนิมิตจนถึงขันสีมสัมเภท
อันเทียบเท่ากับปฏิภาคนิมิต
๓. อัปปนาภาวนา เมื่อรูปฌานจิตเกิดขึ้น
เรียกว่าอัปปนาภาวนา[33]
สีมสัมเภทมีลักษณะดังแสดงมาที่ผู้ปฎิบัติได้บรรลุแล้วนั้น
จัดเป็นดุจปฏิภาคนิมิต
ในที่นี้ด้วยมีลักษณะอาการคลายกับปฏิภาคนิมิตในกรรมฐานอื่น ๆ
เพราะว่าเมื่อผู้ปฎิบัติ เจริญเมตตาจนสำเร็จถึงขั้นสีมสัมเภทแล้ว โดยเหตุที่ภาวนามีกำลังแก่กล้าขึ้น นิวรณ์ ๕
ประการอันเป็นศัตรูโดยตรงของฌาน จึงเป็นอันผู้ปฏิบัติข่มไว้ได้แล้ว
กิเลสทั้งหลายก็สงบ ลงหมด จิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ตั้งมั่นเป็นอันดี
ด้วยกำลังแห่งอุปจารสมาธิ
วิธีแผ่เมตตาละคำแผ่เมตตา
ธิบายโดยสังเขปดังนี้
๑. อโนธิโสผรณา
แผ่ไปโดยไม่เจาะจง คือแผ่ไปในสัตว์ปาณะ ภูติ บุคคล และผู้มี อัตภาพ (ผู้เนื่องอยู่ในอัตภาพ)
๒. โอธิโสผรณา แผ่ไปโดยเจาะจง คือแผ่ไปในสตรี บุรุษ พระอริยเจ้า
อนริยชน เทวดา มนุษย์ และสัตว์วินิปาติกะ
๓. ทิสาผรณา แผ่ไปในทิศ
คือแผ่ไปในสัตว์ ปาณะ ภูต บุคคล ผู้มีอัตภาพ สตรี บุรุษ พระอริยเจ้า อนริยชน เทวดา
มนุษย์ และสัตว์วินิปาติกะ ในทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศ ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศเบื้องล่าง และทิศเบื้องบน
วิธีแผ่เมตตาทั้ง ๓ วิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
มีสารัตถะสำคัญและรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑.๑ สพฺเพ
สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๑.๒ สพฺเพ ปาณา อเวรา
อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอปาณะทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี ความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๑.๓ สพุเพ ภูตา อเวรา อพุยาปชุฌา อนีฆา สุขี
อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี
ความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๑.๔ สพฺเพ ปุคฺคลา อเวรา อพุยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตุตานํ ปริหรนุตุ
ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี ความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๑.๕ สพฺเพ อตุตภาวปริยาปนฺนา อเวรา
อพุยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อัตตานํ ปริหรนฺตุ ขอผู้เนื่องอยู่ในอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๒.๑ สพฺพา อิตฺถิโย อเวรา อพฺยาปชฺฌา
อนีฆา สุขี อตฺฅานํ ปริหรนฺตุ ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี ความสุข รักษาคนอยู่เถิด
๒.๒ สพฺเพ ปุริสา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา
สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี ความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๒.๓ สพุเพ อริยา อเวรา อพฺยาปชฺฌา
อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขออริยชนทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มี ความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๒.๔ สพุเพ อนริยา อเวรา อพฺยาปชฺฌา
อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขออนริยชนทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มิทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๒.๕ สพุเพ เทวา อเวรา อพุยาปชุฌา
อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอเทพทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาคนอยู่เถิด
๒.๖ สพฺเพ มนุสฺสา อเวรา
อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี
อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์
มีความสุขรักษาตนอยู่เถิด
๒.๗
สพุเพ วินิปาติกา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอวินิปาติกะทั้งหลายทั้งปวง
จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุขรักษาคนอยู่เถิด
๓. ทิสาผรณาการแผ่เมตตาในทิศ โดยอาการ ๑๐
๓.๑ สพฺเพ ปุรตฺถิมาย ทิสาย สตตา อเวรา
อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๒ สพฺเพ ปจฺฉิมาย
ทิสาย สตฺตา อเวรา
อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ
ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันตก จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๓ สพฺเพ อุตุตราย ทิสาย สฅฺตา อเวรา อพุยาปชฺฒา อนีฆา
สุขี อตุตานํ ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศเหนือ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์
มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๔ สพฺเพ ทกฺขิณาย ทิสาย สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี
อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศใต้ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๕ สพฺเพ ปุรตฺลิมาย อนุทิสาย สตฺตา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๖ สหฺเห ปจฺฉีมาย อนุทิสาย สตุตา
อเวรา อพยาปชุฌา อนี‘มา
สุขี อตุฅานํ ปริหรนุตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตกเฉียงใต จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๗ สพฺเพ อตฺตราย อนุทิสาย สตฺตา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ
ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จงเป็นผู้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาคนอยู่เถิด
๓.๘ สพฺเพ ทฦขิณาย อนุทิสาย สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี
อตฺตานี ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออกเฉียงใต้
จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน
ไม่มีทุกข์ มีความสุข
รักษาตนอยู่เถิด
๓.๙ สพฺเพ เหฏิฐิมาย ทิสาย สตฺตา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มิความเบียดเบียน
ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
๓.๑๐ สพฺเพ อุปริมาย ทิสาย สตฺตา
อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ
ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด
ส่วนคำแผ่เมตตาไปในทิศโดยอาการ ๑๐ ในบุคคลอีก ๑๑ จำพวก คือตั้งแต่ จำพวกที่ ๒
สพฺเพ ปาณา จนถึงจำพวกที่ ๑๒ สพฺเพ วินิปาติกา นั้น
ผู้ปฏิบัติจงนำมาประกอบเรื่องโดยทำนองเดียวกับบุคคลที่ ๑
ต่างแต่ต้องยกเอาบุคคลนั้น ๆ นำมาประกอบแทนตรงที่ว่า สตฺตา ในคำบาลี ตรงที่ว่า
สัตว์ ในคำภาษาไทยเท่านั้น โดยว่าเรียงลำดับดังต่อไปนี้ ๑. สตฺตา ๒. ปาณา ๓. ภูต ๔.ปุคฺคลา
๕.อตฺตภาวปริยาปนฺนา ๖.อิตฺถิโย ๗.ปุริสา
๘.อริยา ๙. อนริยา ๑๑. เทวา ๑๑.มนุสฺสา ๑๒.วินิปาติกา
[1]
ที.มหา.
๑๐ / ๔๕ / ๕๗.
[2]
อํ.เอก.
๒๐ / ๕๑๑ / ๒๗๘.
[3]
วิสุทธิ. ๒ / ๙๑ – ๙๒.
[4]
เรื่องเดียวกัน
[5]
เรื่องเดียวกัน
[6]
เรื่องดกียวกัน
[7]
เรื่องเดียวกัน
[8]
เรื่องเดียวกัน,
หน้า ๙๔
[9]
เรื่องเดียวกัน,
หน้า ๙๓.
[10]
อภิ.วิ.
๓๕ / ๗๔๑ / ๓๗๐.
[11]
ขุ.ป.
๓๑ / ๕๗๔ / ๔๗๘
[12]
ขุ.ขุ.
๒๕ / ๙ / ๑๓.
[13]
สํ.ส.
๑๕ / ๓๔๗ / ๑๐๙.
[14]
มูลนิธิแนบ มหานึรานนท์, คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังวิภาค, วรรณสิทธิ์ ไวทยเสวี
รวบราม, (กรุงเทพ ฯ : พัฒนวิทย์การพิมพ์, ๒๕๓๓.) หน้า
๔๗,
[15]
วิสุทธิ. ๒ / ๙๔
[16]
พระพิมลธรรม อาสภเถระ, วิสุทธิ – ความไทย พรหมวิหารนิเทศ
ปริเฉทที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์, ๒๕๑๘. ),
หน้า ๒๕-๒๖
[17]
ม.มู.
๑๒/๓๔๒/๓๕๑.
[18]
สํ.ส.
๑๕ / ๘๗๓ / ๓๒๕.
[19]
วิสุทฺธิ.
๒ / ๙๘-๙๙.
[20]
พระพิมลธรรม อาสภเถระ, วิสุทธิ – ความไทย พรหมวิหารนิเทศ ปริเฉทที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์,
๒๕๑๘.
),หน้า
๓๓-๓๔
[21]
เรื่องเดียวกัน,
หน้า ๓๔ – ๓๕
[22]
ขุ.ชา.
๒๗ / ๕๑ / ๒๒
[23]
สํ.นิทาน.
๑๖ / ๔๕๐-๔๕๕ / ๒๒๓-๒๒๔.
[24]
พระพิมลธรรม อาสภเถระ, วิสุทธิมรรค – ความไทย พรหมวิหารนิเทศ ปริเฉทที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์,
๒๕๑๘.
), หน้า
๔๔-๔๕
[25]
อํ.ทสก-เอกาทสก.
๒๔ / ๒๒๒ / ๓๗๐-๓๗๑.
[26]
วิสุทฺธิ.
๒ / ๑๐๖ - ๑๐๗
[27]
วิสุทธิ.
๒ / ๑๐๘.
[28]
วิสุทธิ.
๒ / ๑๐๘-๑๐๙.
[29]
อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต
พระสูตรและอรรถกถาแปล เล่มที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,
๒๕๒๕, หน้า
๓๓๑-๓๓๕.
[30]
เรื่องเดียวกัน,
หน้า ๓๓๔ – ๓๓๕
[31]
วิสุทธิ.
๒ /๑๐๙.
[32]
พระมหาสงกรานต์ ธมฺมธโร
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพระไตรปิฏก,
(วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า๑๓๔.
[33]
เรื่องเดียวกัน,
หน้า ๑๓๕
[34]
วิสุทธิ.
๒ /๑๐๙.
[36]
ขุ.ปฏิ.
๓๑ / ๕๗๕ / ๔๘๓.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น